20 กุมภาพันธ์ 2567 “สรรพสามิต” พลิกบทบาทก้าวสู่กรม ESG เน้นนโยบายภาษีสิ่งแวดล้อม

"สรรพสามิต" พลิกบทบาทก้าวสู่กรม ESG เน้นนโยบายภาษีสิ่งแวดล้อม

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1113921)

ข้อมูลจาก กรมสรรพสามิต ระบุว่า มีการยกเครื่องกรมชูยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดูแลสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน กรมสรรพสามิต ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG โดยในปี 2565 กรมสรรพสามิตได้ประกาศบทบาทใหม่ที่สำคัญเป็นกรม ESG เพื่อให้การดำเนินงานของกรมฯ สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม การปรับตัวที่รวดเร็วของเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยนำกลยุทธ์ EASE..Excise..เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ (Purpose) ของกรมสรรพสามิตที่ต้องการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรรมาภิบาล สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน” โดยกรมสรรพสามิตให้ได้ดำเนินมาตรการ ในปี 2566 ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ดำเนินมาตรการลดภาษีน้ำมัน 2. ดำเนินมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวาน
3. ดำเนินมาตรการสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Zero Emission Vehicle: ZEV) 4. ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปราบปรามสินค้าออนไลน์ 5. นำแนวคิดกระบวนการออกแบบเชิงระบบ (design thinking) และ User Experience (UX) ซึ่งในปี 2567 นี้กรมสรรพสามิตยังมีแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  EASE Excise อย่างต่อเนื่องโดยมีนโยบายดังนี้  ดังนี้

  1. ด้านนโยบาย ESG จะมุ่งเน้นนโยบายภาษีสรรพสามิตที่ส่งเสริมภาษีสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลาง
    ทางคาร์บอนได้แก่ มาตรการภาษีคาร์บอน (carbon tax) นโยบายส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า EV 3.5 มาตรการปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรถยนต์เพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ
  2. ด้านพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ จะมุ่งเน้นการยกระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ทำงานได้คล่องตัว(Agile ways of working) และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต (Future Skills) เช่น AI และ Data Analytics รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรให้เก่ง ดี มีความสุข
  3. ด้านพัฒนากระบวนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้มีมาตรฐาน (Standardization)..เช่น การวางมาตรฐาน
    ธรรมาภิบาลข้อมูล และวางมาตรฐานการปราบปรามผู้กระทำผิดเชิงรุกกับหน่วยงานปราบปรามที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง
    การทบทวนกฎหมายภาษีสรรพสามิตที่บังคับใช้ในปัจจุบันหรือยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัยหรือลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (Regulatory Guillotine)
  4. ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการให้บริการแบบไร้รอยต่อ (End-to-end Service)เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความสะดวกและเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่รวดเร็ว เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกับการให้บริการของกรมสรรพสามิตมาตรการปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรถยนต์เพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ

ทั้งหมดนี้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ ดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy