9 ธันวาคม 2566 สรุปโอกาส-ความท้าทาย เหมืองแร่โพแทช “อุดรฯ-ชัยภูมิ”

การขุดเจาะเหมืองแร่โพแทช เพื่อนำแร่โพแทชมาผลิตปุ๋ย

ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-1453637

ความพยายามของรัฐบาลในการเร่งรัดฟื้นโครงการเหมืองแร่โพแทช 2 แหล่งใหญ่ที่สำคัญของไทยอย่าง จังหวัดอุดรธานีและชัยภูมิ เพื่อนำแร่โพแทชขึ้นมาผลิตปุ๋ยใช้เองจะได้ประโยชน์มหาศาล ทั้งค่าภาคหลวงที่รัฐจะได้รับ และยังลดการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศที่ไทยขาดดุลมาตลอด รวมถึงการสร้างงานในท้องถิ่น แต่อาจต้องแลกมากับการทำลายสิ่งแวดล้อม

โครงการโพแทช จ.อุดรธานี ตั้งอยู่ใน อ.ประจักษ์ศิลปาคม และ อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2565 มีพื้นที่ดำเนินการ 26,000 ไร่ ข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่า ปริมาณสำรองแร่โพแทชในพื้นที่ 267 ล้านตัน ซึ่งจะสามารถนำแร่ขึ้นมาผลิตเป็นปุ๋ยโพแทชได้ 34 ล้านตัน ดูเหมือนใกล้ความจริงมากที่สุด

กพร. ได้กำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ตามที่ประชาชนต้องการ เช่น การติดตั้งเครื่องบำบัดฝุ่นในบริเวณก่อสร้างอุโมงค์และเครื่องจักร การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ เป็นต้น

ขณะที่ชาวบ้านรอบพื้นที่ก็จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการและกองทุน 6 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมือง กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ กองทุนการศึกษาเพื่ออนาคตเยาวชน กองทุนประกัน
ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และกองทุนช่วยเหลือค่าปุ๋ยเกษตรกรในพื้นที่ประทานบัตร รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประทานบัตรยังได้รับเงินค่าทดแทน
(ค่าลอดใต้ถุน) ในอัตราไร่ละ 45,500 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยจ่าย 24 งวดตลอดอายุประทานบัตร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy