15 กันยายน 2566 สผ. พร้อมขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้แรงกดดันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สผ. พร้อมขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้แรงกดดันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/2718445/

นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานการประชุมวิชาการ สผ. ประจำปี 2566 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ สผ. ได้จัดประชุมวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่สำคัญของ สผ. การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากภาคส่วนต่าง ๆ ภายใต้แรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือของภาคีเครือข่ายให้ภาคีเครือข่าย
ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน ได้รับทราบมาขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยประเทศไทยได้ยกระดับสู่เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ไทยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ๒๐๖๕ และยกระดับเป้าหมาย NDC ร้อยละ 40 ในปี 2030 และในการประชุม COP27 ได้เร่งดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ยกระดับการดำเนินงานด้านการปรับตัวและการสนับสนุนด้านการเงิน โดยมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมน้อยที่สุดในส่วนของสถานการณ์การขับเคลื่อนประเทศอย่างสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน ในมิติของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหลักและกรอบการประเมินผลลัพธ์ ทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ อาทิ 1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม 3) วาระแห่งชาติ BCG Model โดย BCG Model จะเป็นแต้มต่อของประเทศไทย ชูจุดเด่น ต่อยอดจุดแข็งพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน กระจายรายได้ รักษาฐานทรัพยากร สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะเป็นทางรอดในการสร้างความร่วมมือ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของ สผ. ยังมีอีกมาก เพื่อมุ่งหวังให้การพัฒนางานด้านวิชาการและการดำเนินงานกำหนดนโยบาย ที่ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันพัฒนางานด้านวิชาการ ไปสู่การปฎิบัติ ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน อันจะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy