5 กันยายน 2566 โค้งสุดท้าย! “เมืองโบราณศรีเทพ” ก่อนขึ้นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่

ที่มา : Thai PBS (https://www.thaipbs.or.th/news/content/331257)
นับถอยหลังในเดือน ก.ย.นี้ คนไทยต้องลุ้นกันว่ายูเนสโก จะรับรอง “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลก
ทางวัฒนธรรมแห่งใหม่หรือไม่ หลังจากกรมศิลปากร ใช้เวลาบูรณะขุดแต่งเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ไม่น่าเชื่อว่าจะหาจนเจอ นี่คือภาพก่อนการค้นพบของ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” จ.เพชรบูรณ์ ที่ถูกซ่อนเอาไว้มานานกว่า 1,700 ปี ที่กำลังจะได้ขึ้นเป็นมรดกโลกจาก UNESCO
ส่วนภาพนี้คือ เขาคลังนอก สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ รองจากอินเดียกรมศิลปากร ได้ใช้เวลาในการขุดแต่งบูรณะและศึกษาเป็นช่วงเวลายาวนานหลายสิบปี พบโครงสร้างภายใน และได้ทำการขุดเอาดินที่ทับถมออกปรากฏเป็นโบราณสถานที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่กว่าโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกันอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย ก่อนจะนำข้อมูลเสนอให้กับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และในที่สุดประเทศไทยได้เสนอ ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่
ในชื่อ “เมืองโบราณศรีเทพ” โดยจะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ย. นี้
ล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดงานมหัศจรรย์ แสงสี ณ ศรีเทพ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว
ณ ศรีเทพสู่มรดกโลก “THE MAGICAL SI THEP to World Heritage” กระตุ้นการท่องเที่ยวพร้อมเสริมแรงหนุนอุทยานประวัติศาสตร์ “ศรีเทพ” สู่มรดกโลก
นางคำพัน คำศรี นายก อบต.นาสนุ่น อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูร บอกว่า ใครที่มีเอกสารสิทธิสามารถที่จะทำธุรกรรมต่างๆ ได้ แต่หากจะก่อสร้างอะไร ก็ต้องขอความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน ส่วนใครที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ก็ห้ามกระทำการใดๆ เนื่องจากว่าในพื้นที่ใกล้เคียงอาจจะมีโบราณวัตถุหลงเหลืออยู่ ขณะที่คณะกรรมการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุไทย ระบุว่า ขณะนี้ โบราณวัตถุจากเมืองโบราณศรีเทพ ที่ถูกลักลอบขนย้ายออกไป มีประมาณ 7-8 ชิ้นด้วยกันที่กำลังเสนอ
เข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อเร่งทวงคืนจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการทวงคืนกลับ
นักสะสมของเก่าที่อยู่ภายในประเทศไทยด้วย
ข้อกังวลชาวบ้าน หากศรีเทพเป็นมรดกโลก ปัญหาคือ หากศรีเทพได้เป็นมรดกโลก การก่อสร้างอาคารชั่วคราว และถาวร การเกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การปรับพื้นที่ เปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ และการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจะกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ตามแผนการจัดการพื้นที่มรดกโลกที่รัฐบาลไทยนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก เรื่องนี้ทำให้ชุมชนรอบๆ ออกมาร้องเรียนสื่อมวลชนเมื่อปี 2564 ชาวบ้านซึ่งมีที่ดินอยู่ในเขต Core Zone กังวลว่า พวกเขาจะสูญเสียที่ดิน และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขียนแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกขึ้นใหม่ โดยเน้นย้ำว่าไม่ได้ต่อต้านการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เบื้องต้นประเมินว่ามีชาวบ้านกว่า 200 คนได้รับผลกระทบ และ 35 คน จะกลายเป็นผู้ไร้ที่ดินทันที เนื่องจากถือครองใบ ภทบ.5 ย้อนหลังไปในเดือนต.ค.2562 พบว่า ขั้นตอนการทำแผนจัดการพื้นที่มรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพ ก็มีปัญหาเช่นกัน เมื่อกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ถูกตั้งคำถามจากชุมชนถึงความไม่ชัดเจนของแนวเขต CORE ZONE พื้นที่อนุรักษ์เข้มข้น และ Buffer Zone หรือแนวเขตกันชน