10 สิงหาคม 2566 น้ำทะเลร้อน ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/infographic/153022/
หน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป “โคเปอร์นิคัส” (Copernicus Climate Change Service) หรือ C3S รายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรทั่วโลก เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสัปดาห์นี้ ทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ โดยยังไม่มีสัญญาณว่าจะเย็นลง เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้น
อุณหภูมิเฉลี่ยเหนือผิวน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งไม่รวมบริเวณขั้วโลก พุ่งแตะ 20.96 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำลายสถิติเดิมในปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ 20.95 องศาเซลเซียส ตามรายงานของโคเปอร์นิคัส ด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนก่อนหน้านี้ว่า อุณหภูมิสูงทำลายสถิติบนพื้นดินและในมหาสมุทรอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
ทำให้มีผลกระทบกับฉลาม มหาสมุทรอุณหภูมิร้อนมากขึ้น ฉลามจะย้ายพื้นที่หากินไปอยู่ทางตอนเหนือแทน ซึ่งมีอุณหภูมิน้อยกว่าหรือเป็นพื้นที่ที่เย็นกว่าในจุดเดิมเพื่อจะหาแหล่งอาหารใหม่ๆ แต่พื้นที่แถบนั้นมีอาหารไม่มาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการหากินของฉลามโดยตรง นอกจากนั้นยังส่งผลต่อการเจริญเติมโตการหายใจ การสืบพันธุ์ และการย่อยอาหารของฉลาม จะนำไปสู่การที่ฉลามสูญพันธุ์ได้ในอนาคต
ถ้าไม่มีฉลามในมหาสมุทรแล้วจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางท้องทะเลอย่างมหาศาลเนื่องจากฉลามถือว่าเป็นสัตว์นักล่าที่รักษาสมดุลของท้องทะเล