30 มิถุนายน 2566 เนื้อสัตว์สังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นอนาคตของการเกษตรหรือไม่?

นื้อสัตว์สังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

ที่มา: https://geographical.co.uk/science-environment/is-lab-grown-meat-the-future-of-agriculture

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคกำลังมองหาเนื้อสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ก็เจออุปสรรคมากพอสมควร เช่น การเกษตรประณีต โดยฟาร์มแห่งเดียวสามารถเลี้ยงไก่ได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวหรือวัวหลายพันตัวซึ่งมักเกี่ยวข้องกับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่ต่ำกว่าและการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป หรือ การเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยที่ใช้ทรัพยากรมากกว่าและปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้น

อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือธุรกิจเกษตรกรรมเซลล์ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าเนื้อสัตว์สังเคราะห์ ในปี 2020 สิงคโปร์อนุมัติการขายเนื้อไก่ที่สังเคราะห์จากเซลล์กล้ามเนื้อเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งสหรัฐอเมริกาเริ่มทำตามเช่นกัน โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟส์ในแมสซาชูเซตส์ประสบความสำเร็จในการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อวัวซึ่งสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแบ่งตัวได้หลายร้อยเท่า หรืออาจจะไม่มีกำหนดก็ได้

David Kaplan ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และผู้อำนวยการ Tufts University Center for Cellular Agriculture กล่าวว่า การพัฒนานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของเนื้อสัตว์ที่ปลูกในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสเต็มเซลล์ของกล้ามเนื้อปกติที่ได้มาจากการตรวจชิ้นเนื้อสัตว์ในฟาร์มมักจะแบ่งตัวเพียงประมาณ 50 ครั้งก่อนที่จะเริ่มเสื่อมสภาพ โดยการมีเซลล์เดียวที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนสามารถใช้ได้จะทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีราคาที่ย่อมเยามากขึ้น และลดการใช้สัตว์ลงอย่างมาก

ในปัจจุบัน เนื้อสัตว์สังเคราะห์ยังไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรรม Kaplan กล่าวว่า แต่ถึงแม้จะปลอดภัย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่รับได้กับอาหารที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม ตอนนี้ขากำลังหาวิธีอื่นในการทำให้เซลล์มีความรู้สึกที่ “ถูกดัดแปรพันธุกรรมน้อยลง”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy