21 เมษายน 2563 การสูญเสียป่านำไปสู่การแพร่กระจายโรค

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1825716

ไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน และกลายเป็นติดจากคนสู่คนอย่างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-ไนน์ทีน (COVID-19) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ต้องกลับมามองพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการโต้ตอบกับสัตว์ที่ติดเชื้อเพื่อที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการแพร่กระจายของโรค เมื่อเร็วๆนี้ ลอร่า บลูมฟีลด์ นักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์และกำลังทำปริญญาเอกใน The Emmett Interdisciplinary Program in Environment and Resources แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ศึกษาการสูญเสียป่าเขตร้อนในยูกันดา โดยรวบรวมข้อมูลสำรวจการใช้ที่ดินจากเกษตรกรรายย่อยที่อาศัยอยู่ใกล้ป่า และรวมข้อมูลนี้เข้ากับภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงจากช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อจำลองรูปแบบภูมิประเทศและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเข้าด้วยกันพบว่า คนมีโอกาสสัมผัสสัตว์ป่ามากขึ้น นักวิจัยอธิบายว่า การที่มนุษย์มีความเสี่ยงมากขึ้นกับการแพร่กระจายของโรค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ความยากจน เมื่อมนุษย์บุกรุกและเปลี่ยนที่อยู่อาศัยของสัตว์ในธรรมชาติให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มนุษย์ต้องแบ่งปันพื้นที่อาศัยเดียวกันและแย่งอาหารแบบเดียวกันกับสัตว์ป่าโดยเฉพาะสัตว์ในอันดับไพรเมต (primate) เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะรับเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คนนั่นเอง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy