15 พฤษภาคม 2566 เนื้อสัตว์ที่สังเคราะห์ในห้องทดลองอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์จริง

การศึกษาใหม่อธิบายว่าวิธีสร้าง ACBM หรือ เนื้อสัตว์จากเซลล์สัตว์ นั้นผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าวิธีดั้งเดิม โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ส่งเสริม ACBM เนื่องจากสามารถช่วยลดการฆ่าสัตว์ได้
จากรายงานล่าสุดของ Interest Engineering วิธีการเพาะเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการทำให้เกิด CO2 มากกว่าเทคนิคการเชือดแบบดั้งเดิมถึง 4-25 เท่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียอ้างว่า ACBM แต่ละกิโลกรัมสามารถผลิตคาร์บอนได้ตั้งแต่ 246 ถึง 1,508 กิโลกรัม พวกเขาเสริมว่า อาจการเพาะเนื้อสัตว์อาจเกิดขึ้นได้จากกระแสและสื่อที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยพวกเขาประเมินว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงอาจสูงกว่าเนื้อวัวขายปลีกถึง 25 เท่า
นอกเหนือจากการปล่อย CO2 ที่สูงขึ้น ปัญหาอีกอย่างของเนื้อสัตว์ที่ปลูกในห้องปฏิบัติการคือเทคโนโลยีที่กล่าวไปอาจจะไม่สามารถใช้งานได้จริง