8 เมษายน 2566 วิกฤต Climate Change ซ้ำเติมความยากจนร้ายแรง-เหลื่อมล้ำพุ่ง

ที่มา :โพสต์ทูเดย์(https://www.posttoday.com/business/692753)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานโครงการติดตามประเมินผลช่วงครึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนึ่งในนั้นมีการแจ้งถึงมาตรการป้องกันผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ของไทยว่ามีอะไรคืบหน้าไปบ้าง ซึ่ง สศช. มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. Climate Change ซ้ำยากจน-เหลื่อมล้ำ ความเหลื่อมล้ำในสังคมยังมีผลทำให้ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในประเทศนั้นรุนแรงมากขึ้นด้วย เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ระหว่างความเหลื่อมล้ำและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขึ้นด้วย
2. นโยบายเกี่ยวกับ Climate Change ด้านนโยบายเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น สามารถแบ่งนโยบายได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การลดระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (mitigation) การปรับตัว (adaptation)
3. การแก้ปัญหา Climate Change ของไทย ภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการลดระดับก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัว
4.ข้อเสนอรับมือ Climate Change สศช. มีข้อเสนอแนะให้รัฐดำเนินการอย่างแข็งขันทั้งในด้านการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก Climate Change และการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือและปรับตัวให้กับประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงคนยากจน คนชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ
5. ตัวอย่างมาตรการที่สามารถเพิ่มความสามารถในการรับมือและปรับตัวของประชาชนกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะ ได้แก่ การพัฒนาส่งเสริมระบบการเงินระดับฐานราก (Microfinance) การร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น