24 มีนาคม 2566 ปลาหยก..ปลาต่างถิ่น อันตรายขนาดไหน?

(https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2659855)
“ปลาหยก” (Jade Perch) ที่บริษัทเอกชนรายหนึ่งได้รับอนุญาตจากกรมประมงในการนำเข้ามา
แบบมีเงื่อนไข เพื่อการศึกษาวิจัยการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ กลายเป็นที่สนใจในประเด็น ปลาชนิดนี้ถูกจัดเป็น
1 ใน 13 ปลาต่างถิ่นที่กรมไม่อนุญาตให้นำเข้า หากไม่ขออนุญาตอย่างถูกต้อง
เรื่องนี้กรมประมงชี้แจงว่า คณะกรรมการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (IBC) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนนำปลาหยกมาทดลองเลี้ยงและทดลองตลาดได้
แต่ห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อการจำหน่ายเป็นปลามีชีวิตที่เป็นลูกพันธุ์ เพื่อป้องกันการเล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญการเลี้ยงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่กรมประมง
งานวิจัยโดย ดร.วันศุกร์ เสนานาญ ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี และ ผศ.ดร.รัฐชา ชัยชนะ ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ได้ร่วมกันประเมินความเสี่ยงทางนิเวศของปลาหยก
ต่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย และสรุปสำหรับผู้บริหาร เสนอต่อ IBC ว่า คะแนน
ความเสี่ยงต่อการเป็นชนิดพันธุ์รุกรานของปลาชนิดนี้อยู่ใน “ระดับปานกลาง” มีคะแนนเฉลี่ย 7.5 เทียบกับปลาน้ำจืดต่างถิ่นที่รุกรานซึ่งมักจะมีคะแนนมากกว่า 19 ดังนั้น ปลาชนิดนี้อยู่ในเกณฑ์ที่พอจะจัดการ
ความเสี่ยงได้ หากมีการอนุญาตให้เพาะเลี้ยง น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่กรมประมง และ IBC จึงอนุญาตให้ทำการทดลองเลี้ยงได้