19 มีนาคม 2566 การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม

การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม

ที่มา : https://urbancreature.co/second-hand-market/

คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แม้เทรนด์การซื้อสินค้ามือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่หลังจากธุรกิจขายของออนไลน์เติบโตขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ฐานลูกค้าสินค้ามือสองที่แต่เดิมมีเพียงส่วนน้อย เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์มาแรงของผู้คนทั่วโลก

โดยผลสำรวจจาก GlobalData 2022 พบว่า ตลาดมือสองในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตลาดที่เติบโตขึ้นจากการประมาณการเติบโตถึง 8 เท่าในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าโดยทั่วไปในท้องตลาด รองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรปตามลำดับ โดย 62 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในกลุ่ม Gen Z และ Millennials ระบุว่า พวกเขามักมองหาสินค้ามือสองเป็นอันดับแรก แทนการซื้อสินค้ามือหนึ่งแบบใหม่แกะกล่อง

ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลายคนเริ่มคำนึงถึงความยั่งยืนและปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งยังมองว่าการซื้อของมือสองเป็นหนึ่งในวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายที่ทำได้ง่ายในปัจจุบัน เนื่องจากซื้อของได้จำนวนมากขึ้นด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อสินค้าในอุตสาหกรรม Fast Fashion แบบเดิมๆ

เทรนด์ความยั่งยืนในหมู่ผู้บริโภค ทำให้แบรนด์เสื้อผ้าในตลาดแฟชั่นหันมาทำการตลาดเน้นไปที่วัสดุรีไซเคิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้กลับมาซื้อสินค้ามือหนึ่งอีกครั้ง

ใช้ของมือสองให้รักษ์โลกได้จริง

หากการใช้ของมือสองยังทำลายโลกได้ แล้วเราจะซื้อของมือสองไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลกอย่างแท้จริงได้อย่างไร อันดับแรกคือ ควรเลือกซื้อของมือสองโดยผ่านการไตร่ตรองถึงความคุ้มค่าและการใช้งานเป็นอย่างดี อีกทั้งควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากขึ้นตามไปด้วย เพราะในการซื้อสินค้าแต่ละครั้ง คงไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการมองหาร้านค้าที่จำหน่ายสินค้ามือสองในรูปแบบเดียวกันเอาไว้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ ก็น่าจะทำให้ได้สินค้าที่ดีและรักษ์โลกมากขึ้นหรือถ้าถามถึงที่มาของสินค้าทั้งหมด แนวคิดของร้าน หรือการจัดการดูแลสินค้ากับเจ้าของร้านนั้นๆเพื่อสร้างความมั่นใจถึงที่มาที่ไปของสินค้ามือสองชิ้นนั้นๆ ได้คงจะดีไม่น้อย

นอกจากนี้ยังควรตระหนักว่า การได้สิ่งของมือสองในปริมาณมากเพื่อใช้ประโยชน์เพียงไม่กี่ครั้งอาจไม่คุ้มเสียเท่าไหร่เมื่อเทียบกับการขนส่งระหว่างประเทศที่ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ปริมาณมาก การพยายามยืดอายุการใช้งานสินค้าที่ตัวเองมีอยู่ เช่น ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือประดับตกแต่งใหม่ น่าจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า รวมไปถึงหากคุณมีงบประมาณที่เพียงพอต่อการซื้อของมือสองไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนสินค้ามือหนึ่งจากแบรนด์ที่ยึดหลักการผลิตอย่างยั่งยืน หรือเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมให้ดีขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy