24 พฤศจิกายน 2565 เมื่อวิกฤตโควิดคลี่คลาย “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” ก็กลับมาเพิ่มขึ้นทั่วโลก

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/547981

กลางเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผยตัวเลขคาดการณ์ว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะกลับมาเพิ่มมากขึ้นอีกครั้งในปีนี้ แต่จะน้อยกว่าในปี 2021 จากอานิสงส์ของการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น

        หลังจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ โรคโควิด-19 ในปี 2020 เป็นที่น่าสังเกตว่า การปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ก๊าซเรือนกระจก ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา (2021)

        ความท้าทายที่ทำให้ต้องเร่งพันธกิจ

        นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ในเวลานี้ การจะควบคุมการปรับขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่ในเป้าหมายข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปัจจุบัน อุณหภูมิของโลกได้ปรับขึ้นมาแล้วประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส (2.2 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้เหลือช่องว่างความต่างของอุณหภูมิเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

        เมื่อกลางเดือนตุลาคม รายงานที่ตีพิมพ์ โดยสถาบัน World Resources Institute หรือ WRI
ที่ทำหน้าที่เป็นคลังสมองด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า แผนงานของประเทศต่าง ๆ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้นจะส่งผลให้มีการลดลงมาเพียง 7% ในปี 2030 เมื่อเทียบกับระดับที่บันทึกได้ในปี 2019 โดยสถาบัน WRI ชี้ว่า ประเทศต่าง ๆ นั้นต้องปรับลดการปล่อยก๊าซในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ได้มากถึง 43% เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส

         ด้วยเหตุนี้ “การยกระดับความพยายาม” ของนานาประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นหนึ่งใน “พันธกิจ” สำคัญจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 หรือ COP 27 ที่เพิ่งปิดฉากลงเมื่อเร็ว ๆนี้ ที่ประเทศอียิปต์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy