25 กุมภาพันธ์ 2565 Russia-Ukraine war: รัฐบาลยูเครนเตือนวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมหลังกองทัพรัสเซียยึดพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลไว้ได้

ที่มา:

https://www.tnnthailand.com/news/ukraine-russia-war/106068/

เขตยกเว้นเชอร์โนบิลมีรัศมี 32 กม. โดยรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งตั้งแต่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิด จนก่อให้เกิดวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อปี ค.ศ. 1986 พื้นที่เขตนี้ก็ร้างคนมาโดยตลอด ส่วนเตาปฏิกรณ์ 3 เตาของโรงไฟฟ้าได้ปิดการใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 และปัจจุบันยุติการใช้งานโดยสมบูรณ์แล้ว แม้จะยังมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในพื้นที่อยู่ แต่เชอร์โนบิลเริ่มเปิดให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมได้ โดยเฉพาะหลังมินิซีรีส์ ทางช่อง HBO ในปี ค.ศ. 2019 รัฐบาลยูเครนรายงานว่า กองทัพรัสเซียล่วงล้ำเข้ามาในเขตยกเว้น และบุกยึดโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล รวมถึงจับเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าเป็นตัวประกัน เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นสำหรับบุกตีกรุงเคียฟต่อไป โดยโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลอยู่ห่างจากกรุงเคียฟไปทางเหนือ 130 กม. แคลร์ คอร์คฮิล ศาสตราจารย์ด้านวัตถุกัมมันตภาพรังสีจากมหาวิทยาลัยแห่งเชฟฟิลด์ในสหราชอาณาจักรเตือนว่า กระบวนการรื้อถอนนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นการบุกยึดของกองทัพรัสเซียอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการที่ละเอียดอ่อน และอาจทำให้การรื้อถอนนิวเคลียร์ล่าช้าไปอีกหลายสิบปีจนกลายเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนมองว่า การยึดเชอร์โนบิลเป็นชัยชนะเชิงสัญลักษณ์ของปูติน เพราะสหภาพโซเวียตเองก็ล่มสลายเพียงไม่กี่ปีหลังเกิดวิกฤตเชอร์โนบิล

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy