24 กุมภาพันธ์ 2565 จระเข้ยุคครีเตเชียสกินไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2323556

ในปี พ.ศ. 2553 นักบรรพชีวินวิทยาได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลโครงกระดูกของ Con fractosuchus sauroktonos ซึ่งเป็นสกุลและชนิดของจระเข้ที่ไม่รู้จักมาก่อน ฟอสซิลประกอบด้วยกะโหลกสภาพเกือบสมบูรณ์ ถูกพบที่แหล่งขุดค้นซากฟอสซิลวินตัน ฟอร์เมชัน ใกล้สถานีเอลเดอร์สลี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย ก่อนหน้านี้มีการศึกษาชี้ว่า Confractosuchus saurok tonos อาศัยอยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันคือ รัฐควีนส์แลนด์เมื่อประมาณ 95 ล้านปีก่อน ถือเป็นจระเข้ตัวที่ 2 ที่ค้นพบในแหล่งฟอสซิลวินตัน ฟอร์เมชัน ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดย ดร.แมตต์ ไวท์ นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลีย เผยผลการวิเคราะห์ซากจระเข้โบราณตัวนี้ว่า ในช่องท้องของมันมีซากสัตว์อีกชนิดถูกเก็บรักษาไว้อย่างเป็นพิเศษในลำไส้ ต่อมาสามารถระบุว่าเป็นชิ้นส่วนกระดูกของไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโธพอด (orni thopod) ตัวเล็กขนาดเท่าไก่ โดยมีอายุน้อย และอาจเป็นออร์นิโธพอดสายพันธุ์ใหม่ มวลกายโดยประมาณของไดโนเสาร์ตัวนี้อยู่ที่ 1-1.7 กก. จัดว่ามีขนาดเหมาะต่อการเป็นเหยื่อให้ Confractosuchus sauroktonos สวาปามเข้าไป การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า ไดโนเสาร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในยุคครีเตเชียสในฐานะสัตว์ที่กินของซากเน่า เป็นผู้ล่า จนถึงเป็นเหยื่อเสียเอง และจระเข้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตัวนี้ รวมถึงไดโนเสาร์ที่เป็นอาหารมื้อสุดท้ายของมัน อาจให้เบาะแสเกี่ยวกับความสัมพันธ์และพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียเมื่อหลายล้านปีก่อน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy