6 มีนาคม 2563 เซลล์ที่เก็บรักษาในไดโนเสาร์อายุ 75 ล้านปี

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/1787778

ความเป็นไปได้ที่สารพันธุกรรมกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid-DNA) จะสามารถอยู่รอดได้นานนับสิบล้านปี ดูจะยังไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนวิทยาศาสตร์ แต่หากพิจารณาที่การทดลอง และการสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าดีเอ็นเอยังคงอยู่ได้น้อยกว่า 1 ล้านปี

เมื่อเร็วๆ นี้มีการศึกษาใหม่นำโดยนักวิจัยจากสถาบันซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพชีวินวิทยาของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน และมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ท แคโรไลนา พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาตินอร์ท แคโรไลนา พิพิธภัณฑ์เทือกเขาร็อกกี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยลุนด์ ในประเทศสวีเดน รายงานการวิเคราะห์ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะลูกอ่อนของไดโนเสาร์ปากเป็ดกลุ่มไฮปาโครซอรัส (Hypacrosaurus) ที่อยู่ในรังเดียวกัน ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสังเกตเห็นเซลล์ที่เก็บรักษาไว้อย่างดีภายในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน

นักวิจัยเผยว่า เซลล์ไดโนเสาร์ที่แยกได้บางส่วน ชี้ให้เห็นว่าภายในมีผลผูกพันในเชิงบวกในรูปแบบเดียวกับที่เห็นในเซลล์ยุคใหม่ และการพบว่า ดีเอ็นเอดั้งเดิมบางตัวของไดโนเสาร์ถูกเก็บรักษาไว้ ทำให้เพิ่มหลักฐานที่ว่าเซลล์ และโมเลกุลบางอย่างของไดโนเสาร์สามารถคงอยู่ได้ในระยะยาวนานนับสิบล้านปี

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy