26 กุมภาพันธ์ 2563 พบเมืองสาบสูญที่อาจพิชิตอาณาจักรไมดาส

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1780160

โครงการสำรวจโบราณคดีในแถบเมืองคอนยา (Konya) ทำแผนที่แหล่งโบราณคดี และเก็บรวบรวมเศษเครื่องปั้นดินเผาแตกจากพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นอาศัยของผู้คนเมื่อ 3,000 ปีก่อน จนกระทั่งค้นพบแท่งหินที่จมอยู่ในน้ำ ซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษเป็นอักษรโบราณจารึกอยู่บนแผ่นหิน นักโบราณคดีจากสถาบัน Oriental Institute และทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ในประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า นี่เป็นการค้นพบที่ยอดเยี่ยม และโชคดีอย่างไม่น่าเชื่อการได้หลักฐานชิ้นสำคัญในพื้นที่ Türkmen-Karahöyük อาจเปิดประตูการค้นพบอาณาจักรโบราณที่หายสาบสูญไปถึง 1,400 – 600 ปี ก่อนคริสตกาล อักษรโบราณดังกล่าวระบุว่าเป็นอักษรลูเวีย (Luwian scripts) หนึ่งในภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาอินโด – ยูโรเปียน ที่ใช้กันในยุคสำริดและยุคเหล็กในพื้นที่ดังกล่าว และยังเป็นภาษาที่ไม่เหมือนใคร เพราะเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณมีลักษณะเป็นภาษาตุรกี และมีการอ่านสลับกันจากขวาไปซ้าย และซ้ายไปขวา คำแปลบนจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ฮาร์ตาปุ และ Türkmen-Karahöyük อาจเป็นเมืองหลวงของเขา นอกจากนี้หินยังเล่าถึงการสู้รบของกษัตริย์ฮาร์ตาปุที่เอาชนะอาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ไมดาส เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 300 เอเคอร์ หรือราวๆ 759 ไร่ ทำให้เป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่ใหญ่ที่สุดในยุคสำริดและยุคเหล็กของประเทศตุรกี แม้จะยังไม่รู้ว่าราชอาณาจักรโบราณแห่งนี้เรียกว่าอะไร แต่นักโบราณคดีเผยว่านี่จะเป็นข้อมูลใหม่ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับยุคสำริดในตะวันออกกลาง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy