21 กุมภาพันธ์ 2563 สิ่งที่เรียนรู้จากฟันไดโนเสาร์แถบแอฟริกาเหนือ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/1776385

ซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ คือ สิ่งที่บอกถึงชนิดสัตว์ อาหาร และตำแหน่งที่มันอาศัยอยู่ ฟันทำจากวัสดุที่แข็งกว่ากระดูก ชั้นนอก คือ เคลือบฟัน (tooth enamel) เป็นแร่ธาตุแข็งที่คงทน และอยู่รอดจากการฝังทับถมได้ดีกว่ากระดูก มีงานศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ลงในวารสาร Journal of African Earth Sciences ได้เปรียบเทียบฟันของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด (sauropod) พบว่า มี 3 กลุ่มที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มไททาโนซอริฟอร์ม (Titanosauriform) กลุ่มไททาโนซอเรียน (Titanosaurian) และเรบบาคิซอริด (Rebba-chisaurid)

มีการศึกษาก่อนหน้านี้เผยว่า พบความคล้ายคลึงกันของชนิดฟันซอโรพอดในแอฟริกาเหนือ และยุโรปใต้ ซึ่งงานวิจัยล่าสุดนี้ยืนยันการค้นพบว่า ฟันซอโรพอดบางส่วนจากทวีปแอฟริกาเหนือคล้ายกับที่ค้นพบในทวีปอเมริกาใต้ แสดงให้เห็นถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกันของซอโรพอดของทั้ง 2 ทวีป นอกจากนี้ ฟันยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร เนื่องจากเป็นเครื่องมือหลักในการจับและแปรรูป เช่น ฟันของไดโนเสาร์สไปโนซอรัส (Spinosaurus) ที่พบในประเทศโมร็อกโกประเทศในแถบแอฟริกาเหนือ แสดงให้เห็นถึงการขัดถูที่รุนแรง หนึ่งในการเรียนรู้อาหารของไดโนเสาร์ คือ ดูที่รอยขีดข่วนบนพื้นผิวสึกหรอของฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์ หลุม และรอยขีดข่วนขนาดใหญ่ให้แนวโน้มว่าจะมีเม็ดกรวดมากในอาหาร ส่วนรอยขีดข่วนเล็กๆ แสดงให้เห็นว่ามันกินพืชที่นุ่มกว่า หรือการวัดองค์ประกอบของแร่ธาตุ อาหาร และน้ำจากร่องรอยบนเคลือบฟันก็ดี เช่น แคลเซียมจะถูกสร้างขึ้นมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ดังนั้นยิ่งมีแคลเซียมมากก็จะรู้ว่ามีสัตว์อยู่ในห่วงโซ่อาหารจำนวนเท่าไหร่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy