24 พฤษภาคม 2564 อุณหภูมิอาจเป็นปัจจัยที่เร่งการเสื่อมโทรมศิลปะหินโบราณ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2099207

มีงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยสังคมและวัฒนธรรม แห่งมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย เสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ฝนตกตามฤดูกาล และความแห้งแล้งสลับกัน สร้างปฏิกิริยาบางอย่างที่ส่งเสริมการก่อตัวของผลึกเกลือและนำไปสู่การกัดกร่อนย่อยสลายของหิน ซึ่งที่น่ากังวลคือ หากหินนั้นอยู่ในแหล่งโบราณคดีเก่าแก่ แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คืบคลานเข้ามาแล้ว เมื่อมีรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเร่งการเสื่อมโทรมของภาพวาดหินโบราณสีแดงและสีน้ำตาลแดงคล้ายสีของผลมัลเบอร์รี อายุระหว่าง ๒๐,๐๐๐-๔๕,๐๐๐ ปีในถ้ำ ๑๑ แห่งที่ Maros-Pangkep ในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงลวดลายฉลุด้วยมือที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอายุประมาณ ๓๙,๙๐๐ ปีก่อน กลุ่มนักวิจัยการวิเคราะห์สะเก็ดหินที่เริ่มหลุดออกจากพื้นผิวถ้ำ โดยพบเกลือซึ่งรวมถึงแคลเซียมซัลเฟตและโซเดียมคลอไรด์ในเกล็ดหินที่แหล่งโบราณคดี ๓ แห่ง สารเหล่านี้ก่อตัวเป็นผลึกบนพื้นผิวหิน ทำให้หินแตกออกจากกัน และยังพบกำมะถันในระดับสูง อันเป็นส่วนประกอบของเกลือหลายชนิดที่แหล่งโบราณคดีทั้งหมด ๑๑ แห่ง นักวิจัยเสนอแนวคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจถูกเร่งมาจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ตอกย้ำด้วยความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเหตุการณ์เอลนีโญ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามและอนุรักษ์ในระยะยาวเพื่อปกป้องศิลปะหินโบราณในเขตร้อนชื้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy