9 ตุลาคม 2563 การปรับตัวของมนุษย์ยุคแรกบนเกาะอาลอร์

ที่มา:
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1948265
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียสำรวจถ้ำ Makpan ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอาลอร์ ประเทศอินโดนีเซียเผยว่า ถ้ำลักษณะคล้ายท่อแบนๆ ยาวอย่างน้อย ๙๒ ม. กว้างประมาณ ๓๐ ม. แห่งนี้ ภายในนั้นเต็มไปด้วยตะกอนหลวมๆ มีความลาดชันเล็กน้อยไปทางปากถ้ำ พร้อมพบสิ่งประดิษฐ์ในถ้ำ ประกอบด้วยเปลือกหอย กระดูกปลา และเบ็ดตกปลา มนุษย์ที่เคยใช้ชีวิตบนเกาะแห่งนี้ มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างไรเมื่อกว่า ๔๐,๐๐๐ ปีก่อน หลักฐานดังกล่าวให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางเคลื่อนที่ของมนุษย์ยุคใหม่ในช่วงแรกๆ ระหว่างหมู่เกาะ ชี้ให้เห็นว่าผู้คนมีการตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อพวกเขาเริ่มย้ายเข้ามาในหมู่เกาะ ก็จะปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับที่อยู่อาศัยใหม่ ถ้ำ Makpan อยู่ใกล้กับชายฝั่ง ผู้คนในยุคแรกจะเลี้ยงชีวิตด้วยหอย เพรียง หอยเม่น แต่ไม่นานหลังจากระดับน้ำทะเลเริ่มลดลง ถ้ำจึงห่างจากชายฝั่ง จึงมีแนวโน้มกระตุ้นให้พวกเขามองหาแหล่งอาหารอื่นๆ โดยกินผักและผลไม้หลายชนิดที่ขึ้นบนบก อย่างไรก็ตาม ถ้ำแห่งนี้ถูกทิ้งร้างเมื่อราวๆ ๗,๐๐๐ ปี ก่อนที่จะมีการยึดครองขั้นสุดท้ายประมาณ ๓,๕๐๐ ปีที่แล้ว ซึ่งนักวิจัยยังมืดมนว่าทำไมช่วงเวลานั้นถ้ำถึงถูกทิ้งร้าง