11 สิงหาคม 2563 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเคยกินไดโนเสาร์

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1907553
ทีมวิจัยนำโดยนักธรณีศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ประเทศเยอรมนีศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลกระดูกซี่โครงต้นคอไดโนเสาร์ชนิดคอยาว ที่ขุดพบจากทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และน่าจะเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ระบุว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรกๆ กินเนื้อไดโนเสาร์เมื่อประมาณ ๑๖๐ ล้านปีก่อน เนื่องจากค้นพบรอยกัดเล็กๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยในชิ้นส่วนกระดูกของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด (sauropod) ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๒๐ ม. มีคอยาว หนักหลายพันกิโลกรัม ซึ่งรอยกัดแทะมีลักษณะคล้ายรอยกัดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบันอย่างสัตว์จำพวกฟันแทะหรือหนู รอยกัดบนกระดูกหรือเนื้อในกระเพาะอาหารนั้นหายากมาก เพราะหลักฐานอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้จะมาจากยุคครีเตเชียส อายุมากที่สุดก็ประมาณ ๑๐๐ ล้านปี ทำให้การค้นพบหลักฐานใหม่ที่เก่าแก่ราว ๑๖๐ ล้านปี มีความพิเศษมาก ร่องรอยนี้จึงถือเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับชีววิทยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกๆ ในประเทศจีน