29 เมษายน 2568 ‘ปะการังสู้โลกร้อน’ วิจัยไทยสร้างปะการังพันธุ์อึดได้สำเร็จ!
‘ปะการังฟอกขาว’ คือปรากฎการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งยังเกิดจากน้ำมือมนุษย์ เช่น การท่องเที่ยว การประมง และมลพิษต่างๆ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ปะการังทั่วโลกกว่า 90% อาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและสภาพอากาศ
การขยายพันธุ์ปะการังด้วยเทคนิคผสมเทียม “นักวิจัยจะลงเก็บเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งไข่และสเปิร์มของปะการังในคืนเดือนเพ็ญ ซึ่งเป็นช่วงที่ปะการังทั่วท้องทะเลพร้อมผสมพันธุ์ โดยการปล่อยสเปิร์มและไข่ออกมาพร้อมกัน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์เหล่านี้มาผสมพันธุ์ในบ่อเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนเกิดเป็นตัวอ่อนปะการัง แล้วจึงเตรียมวัสดุคืออิฐมอญ เพื่อให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะและเติบโตในโรงเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะนำปะการังเหล่านี้กลับลงสู่ทะเลให้เติบโตอีก 3 ปี เมื่อปะการังอายุ 5 ปีปะการังก็จะพร้อมออกไข่ครั้งแรกได้ วิธีนี้ทำให้ปะการังมีโอกาสรอดและเติบโตสูงขึ้น”
การอนุรักษ์ปะการังไม่สามารถทำได้เพียงลำพังโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่ต้องดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการฟื้นฟูแนวปะการัง การลดมลพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสนับสนุนงบประมาณระยะยาวจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป จะเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องและฟื้นฟูปะการังให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งหากมีการดำเนินการที่เหมาะสม ปะการังอาจสามารถฟื้นตัวและคงอยู่เป็นระบบนิเวศที่สำคัญของท้องทะเลต่อไปได้