11 เมษายน 2568 ‘พื้นที่สีเขียว สะพาน อพาร์ทเมนต์’ จากแผ่นดินไหวคันโต สู่เมืองโตเกียวที่แข็งแรงขึ้น
เราผ่านภัยพิบัติและภัยธรรมชาติมามากมาย ในทุกครั้งเมืองและมนุษย์เราก็จะปรับปรุง ปรับตัว โดยไม่ได้แค่เอาตัวรอดมาได้ แต่เมืองและวิทยาการของเรายังยิ่งก้าวไปข้างหน้าด้วย เมืองที่ยิ่งใหญ่ ตึกระฟ้า สาธารณูปโภคทั้งหลายมีหน้าตาดังเช่นทุกวันนี้ ก็เพราะเราผ่านภัยพิบัติทั้งหลายมาได้
จุดเปลี่ยนสำคัญของเมืองและภัยพิบัติหลายครั้งยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเมืองไปสู่ความทันสมัย สู่เมืองสมัยใหม่
ถ้าเรามองย้อนไป มหาอัคคีภัยที่กรุงเอโดะซึ่งเกิดห่างจากเพลิงไหม้ใหญ่ของลอนดอนไม่ถึง 10 ปี ทั้ง 2 เพลิงไหม้นี้
ก็ทำให้เกิดการวางผังเมือง การวางระบบป้องกันภัย เกิดแนวคิดเรื่องความปลอดภัย เช่น การควบคุมอาคาร ไปจนถึงธุรกิจการรับประกัน ซึ่งกลายเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน
พื้นที่สีเขียวนอกจากจะเยียวยาหัวใจให้กับผู้คนแล้ว ยังเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่มีความสำคัญในการรับมือภัยพิบัติ นอกจากสวนขนาดใหญ่แล้ว อาจด้วยความจำกัดในการพัฒนา ทั้งงบประมาณและการจัดการแปลงที่ดิน รวมถึงข้อบ่งชี้ว่า เด็ก ๆ กลายเป็นหัวใจในการพัฒนาเมืองของผู้บริหารญี่ปุ่น