9 มีนาคม 2566 “งานวิจัยเผยว่าผลิตภัณฑ์จากเนื้อนม และข้าวมีผลกับสภาพภูมิอากาศ”

ที่มา : https://www.theguardian.com/environment/2023/mar/06/meat-dairy-rice-high-methane-food-production-bust-climate-target-study
การศึกษาโดยละเอียดแสดงให้เห็นว่า การผลิตอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ นม และข้าว สามารถปล่อยมลพิษซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศร้อน และหากยังคงดำเนินต่อไป จะส่งผลให้โลกร้อนขึ้นอย่างน้อย 0.7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งหมายความว่าการปล่อยมลพิษจากอาหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจผลกระทบมหาศาลของเชื้อเพลิงฟอสซิล จะทำให้อุณหภูมิโลกทะลุเกินขีดจำกัด 1.5 องศาเซลเซียส
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 75% ของความร้อนนี้มาจากอาหารที่เป็นแหล่งของมีเทนสูง เช่น ปศุสัตว์และนาข้าว อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสามารถลดลงได้ 55% โดยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้อยู่ในระดับที่แนะนำ เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากปศุสัตว์และมูลสัตว์ และใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบอาหาร
นักวิจัยกล่าวว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับอาหารนั้นสามารถยับยั้งได้ หากผู้คนยอมรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แนะนำโดยโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ซึ่งรับประทานเนื้อแดงมื้อเดียวต่อสัปดาห์ จะลดอุณหภูมิได้ 0.2 องศาเซลเซียส การบริโภคอาหารดังกล่าวจะหมายถึงการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงอย่างมากในประเทศร่ำรวย แต่อาจหมายถึงการเพิ่มขึ้นในประเทศยากจนบางประเทศด้วย