9 มีนาคม 2563 นักวิจัยจีนเตรียมปลูกข้าวพันธุ์พิเศษในดินเค็มด่าง เนื้อที่กว่า 40,000 ไร่

ที่มา: https://mgronline.com/china/detail/9630000023387

คนงานโครงการดังกล่าวเริ่มปรับผิวดินเค็มด่างในเมืองชิงเต่า เมืองติดทะเลของมณฑลซานตงไปแล้ว 330 เฮกตาร์ (ราว 2,000 ไร่) และจะเริ่มนำต้นกล้ามาปลูกในเดือน พ.ค. นี้ จางกั๋วต้ง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนเค็มด่างของชิงเต่าระบุว่า พวกเขาจะปลูกข้าวทนดินเค็มด่างอีก 330 เฮกตาร์ (ราว 2,000 ไร่) ในเมืองตงอิ๋ง และเหวยฟาง ซึ่งเป็นเมืองติดทะเลของซานตงเช่นกัน ในการนี้ หยวนไม่ได้เดินทางมายังสถานที่ดำเนินโครงการ สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แต่ส่งจดหมายแสดงการสนับสนุนมาแทน ทีมวิจัยและเพาะปลูกดังกล่าวจะนำข้าวเชาโยว 1000 (Chaoyou 1000) ซึ่งเป็นข้าวลูกผสมขั้นสูงที่มีแนวโน้มผลผลิตดี มาปลูกในดินเค็มด่าง

โดยหยวนระบุในจดหมายว่าเมื่อปี 2019 ทีมวิจัยได้ปลูกข้าวชนิดนี้ที่เมืองตงอิ๋งแล้ว 500 หมู่ (ราว 200 ไร่) และได้ผลผลิตถึง 600 กิโลกรัมต่อหมู่ ก่อนหน้านี้ทีมนักวิจัยของทีมหยวนได้ทดสอบปลูกข้าวในดินเค็มด่างเมื่อปี 2019 ในฐานทดลอง 6 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลซานตง และมณฑลเจ้อเจียง พร้อมกับประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวทนดินเค็มด่างในนครดูไบของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้วย โดยพื้นที่ทดลองดังกล่าวมีเนื้อที่รวม 20,000 หมู่ (ราว 8,300 ไร่) และให้ผลผลิตมากกว่า 500 กิโลกรัมต่อหมู่ ทั้งนี้ ประเทศจีนมีพื้นที่ดินเค็มด่างอยู่ประมาณ 100 ล้านเฮกตาร์ (ราว 625 ล้านไร่) โดยประมาณ 1 ใน 5 ของทั้งหมด สามารถปรับปรุงให้เป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy