7 เมษายน 2563 ‘ดอยม่อนจอง’สวรรค์ของนักท่องเที่ยว ถูกไฟป่าเผาวอดจากทุ่งหญ้าสีเขียวเหลือเพียงเถ้าถ่าน

ที่มา: https://www.naewna.com/local/484579
สภาพของดอยม่อนจอง ต. แม่ตื่น อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าอมก๋อย และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุสัตว์ป่าอมก๋อยถ่ายไว้หลังขึ้นไปช่วยกันดับไฟป่า ซึ่งเผาไหม้ในพื้นที่ของดอยม่อนจอง เป็นพื้นที่เกือบ 20 ไร่ จากที่เคยเป็นทุ่งหญ้าที่ราบสูงสีเขียวสด วันนี้กลายเป็นสีดำจากเถ้าไฟที่ถูกไฟป่าเผาหลาย จนกลายเป็นม่อนดอยมีดำ ทั้งนี้ ดอยม่อนจองที่อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันสัตุ์ป่าอมก๋อย ถือเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวผู้ที่ชื่นชอบการเดินป่า และต้องใช้วิธีการเดินเท้าขึ้นไปในระดับความสูงถึง 1,929 เมตร ดอยม่อนจองจึงติดอันดับ 1 ใน 10 ของยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดยจุดสูงสุดของดอยม่อนจอง เรียกว่า หัวสิงห์ เพราะมีลักษณะคล้ายหัวสิงโต ดอยม่อนจองยังเป็นแหล่งที่สัตว์ป่าอู่อาศัย เช่น กวางผา หรือ ม้าเทวดาเลียงผา รวมทั้งโขลงช้างป่า ซึ่งทางทีมเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นไป พบกับกองของขี้ช้างที่ยังใหม่ๆ อยู่เชื่อว่าโขลงช้างป่าจะหนีไฟป่าไปยังจุดที่ปลอยภัย
นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล เพื่อติดตามสถานการณ์หมอกควันไฟป่าในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ โดยมีผู้แทนอำเภอที่เกิดจุด Hotspot สูงที่สุดเมื่อวานนี้ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ. อมก๋อย เชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง และ อ. สะเมิง รายงานสถานการณ์ และความคืบหน้าการดำเนินการในการดับไฟในพื้นที่ และในเช้าวันนี้ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จ. เชียงใหม่ ได้รับรายงานจุด Hotspot ที่เกิดขึ้น จำนวน 129 จุด เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 76 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 52 จุด และพื้นที่อื่นๆ อีก 1 จุด ซึ่งได้สั่งการทุกพื้นที่เข้าดำเนินการตรวจสอบ และติดตามผลอย่างใกล้ชิด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เน้นย้ำให้นำข้อมูลมาปรับแผนแบบรายวัน อย่าให้เกิดจุดไหม้ซ้ำซากต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เจ้าหน้าที่สื่อสารเพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของ จ. เชียงใหม่ พร้อมให้เพิ่มชุดลาดตระเวนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต่างๆ โดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากผู้ที่เชี่ยวชาญในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพเก็บหาของป่า รวมทั้งใช้หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และการลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อลดการเกิดจุด Hotspot ในพื้นที่ต่างๆ ของ จ. เชียงใหม่ รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายให้การชี้เบาะแสผู้ลักลอบเผาป่า เพื่อจับกุมมาดำเนินคดี
นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอความร่วมมือทั้ง 25 อำเภอ สำรวจพื้นที่ทำกินของราษฎรในทุกพื้นที่ โดยให้สำรวจลึกไปถึงในระดับตำบล หมู่บ้าน รวมไปถึงจำนวนเชื้อเพลิงที่มีอยู่ เพื่อการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 63 เพื่อไม่ให้ชาวบ้านในพื้นบริหารจัดการเชื้อเพลิงพร้อมกันในทุกพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ จะได้มีการประชุมกับทุกอำเภออีกครั้ง เพื่อวางแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหลังช่วงสิ้นสุดการประกาศห้ามเผาของ จ. เชียงใหม่ การดับไฟในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย นำรถฉีดน้ำเข้าไปฉีดน้ำในจุดที่ไฟยังคุกรุ่นอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลุกไหม้ซ้ำอีก ส่วนการใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าสนับสนุนการดับไฟ เมื่อวานนี้ได้นำเฮลิคอปเตอร์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าปฏิบัติงานที่ อ. แม่ริม ซึ่งผลการปฏิบัติงานผ่านไปด้วยดี และวันนี้จะได้ดำเนินการขึ้นบินเพื่อดับไฟป่าตามจุดต่างๆ ที่เกิด Hotspot โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น ระยะทางปฏิบัติการไม่ไกลเกินไป มีแหล่งน้ำใกล้เคียง และคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก