7 สิงหาคม 2566 สรรพสามิต ดัน ESG ตอบโจทย์ความยั่งยืน ลดภาษีธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/572659

ปัจจุบันทั่วโลกต่างตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นำมาสู่ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในอนาคต นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้ฉายภาพให้เห็นว่า ESG เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศที่ต้องเผชิญ เพราะทั้งโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรายงานล่าสุดของ Global Climate Risk Index ประเทศไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรงที่สุดจากทั้งโลก และไทยติดอันดับ 9 ใน 10 ประเทศนั้น

ทั้งนี้ หากเกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก ขณะที่ภัยแล้งที่กำลังจะมาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จะกระทบอุตสาหกรรม บริการ และการเกษตร ฉะนั้นภาพเหล่านี้จะเกิดถี่ขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายของประเทศไทย

นอกจากนี้ ความท้าทายเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา คือ กติกาของโลกที่มีการทำสนธิสัญญาว่าทุกคนจะช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วม Conference of the Parties หรือ COP20 ที่ประเทศไทยได้จะร่วมมือปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ใน 2065

อย่างไรก็ตาม วิกฤตอาจจะมาทุกทิศ แต่โอกาสจะมาทุกทางในเชิงธุรกิจ เชื่อว่าทุกบริษัทที่เติบโตขณะนี้สามารถคว้าโอกาสได้ดี ซึ่งโอกาสทางออกนั้น ปัจจุบันแนวความคิด ESG มองแยกส่วนไม่ได้และเชื่อมโยงกันทั้งหมด หากไม่ทำจะยากต่อการคว้าโอกาส โดยสมัยก่อนบอกเศรษฐกิจไม่ดี อย่าพึ่งไปช่วยสิ่งแวดล้อม แต่วันนี้คิดแบบนั้นไม่ได้ จะต้องใช้ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมาช่วยในธุรกิจ

ขณะที่กรมสรรพสามิตมีการวางเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ 5-6 แสนล้านบาทต่อปี แต่มองในระยะยาวข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษีของกรมจากสินค้าที่ควบคุมอาจลดลง กรมจึงได้ประกาศเป็นกรม ESG และตั้งเป้าหมายว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องหารายได้เพียงอย่างเดียว แต่ประกาศเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้น ESG สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

ทั้งนี้ กรมอยู่ระหว่างทำไบโอพลาสติก สำหรับเอทานอลที่มาจากอ้อยและนํ้าตาล แปลงมาเป็นไบโอพลาสติก กรมก็จะมีการลดภาษีให้ แล้วจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นเพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตกรีนพลาสติก ซึ่งจะส่งเสริมไปถึงชุมชน เกษตรกร เป็นต้น และยังมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต เรียนรู้นำการออกแบบนวัตกรรมมาใช้ ใส่ใจชุมชนมากขึ้น โดยกรมมีนวัตกรรมกำจัดบุหรี่เถื่อน เพื่อแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ให้ชาวบ้านนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ รวมทั้งในเรื่องภาษีคาร์บอนที่กำลังศึกษาอยู่ด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy