7 มีนาคม 2566 “สุนัขในเชอร์โนบิลอาจเป็นเบาะแส สำหรับนักวิทยาศาสตร์ว่า มนุษย์สามารถใช้ชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายได้อย่างไร”

ที่มา : https://www.euronews.com/green/2023/03/06/dogs-in-chernobyl-could-teach-scientists-how-humans-can-live-under-environmental-assault
35 ปีหลังจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดของโลก ท่ามกลามอาคารร้างที่ทรุดโทรมทั้งในและรอบ ๆ โรงงานที่ถูกปิด สุนัขป่าที่อาศัยอยู่ในเชอร์โนบิลยังคงสามารถหาอาหาร ผสมพันธุ์ และอยู่รอดได้ โดยนักวิทยาศาตร์คาดว่า อาจเป็นเบาะแสที่มนุษย์สามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมที่สุดได้เช่นกัน
นักวิจัยกล่าวว่า สุนัขส่วนใหญ่ที่พวกเขากำลังศึกษาดูเหมือนจะเป็นลูกหลานของสัตว์เลี้ยงที่ชาวบ้านถูกบังคับให้ทิ้งเมื่อพวกเขาอพยพออกจากพื้นที่
Tim Mousseau ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนากล่าวว่าสุนัขเหล่านี้ “เป็นเครื่องมือที่น่าทึ่งในการติดตามผลกระทบของสภาพแวดล้อมเช่นนี้” โดยที่ Mousseau เริ่มเก็บเลือดจากสุนัขในปี 2017 จากสุนัขบางตัวอาศัยอยู่ในโรงไฟฟ้า และ 15-45 กิโลเมตรห่างออกไปจากผลตรวจ DNA พวกเขาสามารถระบุได้ว่าสุนัขที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับรังสีตั้งแต่สูงไปจนถึงต่ำ
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการที่มนุษย์และสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบันและอนาคตในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกที่ถูกสิ่งแวดล้อมโจมตีอย่างต่อเนื่องและในสภาพแวดล้อมที่เป็นกัมมันตรังสีสูง