7 มิถุนายน 2564 สิงคโปร์เปลี่ยนขยะจากสัตว์น้ำ เป็นวัสดุซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2109572

ประเทศสิงคโปร์บริโภคเนื้อกบและปลาต่อปีรวมกันก็ราว 100 ล้านกิโลกรัมต่อปี ซึ่งครีบ เกล็ด และหนัง ที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงและการประมงก็มีมากกว่า 20,000 ล้านกิโลกรัมถูกทิ้งทุกปี ทว่าขยะเหล่านี้กลายเป็นผลพลอยได้ในการนำไปสร้างวัสดุชีวภาพเป็นทางเลือกทางการแพทย์ และช่วยแก้ปัญหาขยะจากการเพาะเลี้ยงสัตว์นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง ประเทศสิงคโปร์พัฒนาวัสดุชีวภาพชนิดใหม่ทำจากหนังกบขนาดใหญ่พันธุ์อเมริกันที่นำเข้ามายังประเทศสิงคโปร์จำนวนมากเพื่อบริโภค และเกล็ดปลาที่ทิ้งแล้ว การสร้างวัสดุชีวภาพนั้น ทีมสกัด Type 1 tropocollagen คือ โมเลกุลเส้นใยคอลลาเจนจากหนังกบ และไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่เป็นสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตจากเกล็ดของปลาช่อน โดยทดลองในห้องปฏิบัติการ ทีมพบเซลล์สร้างกระดูกของมนุษย์ที่เพาะบนโครงวัสดุชีวภาพชนิดใหม่นี้ สามารถยึดติดกับตัวเองได้สำเร็จและเริ่มทวีคูณขึ้น แสดงสัญญาณของการเติบโต อีกทั้งความเสี่ยงของวัสดุชีวภาพที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบก็อยู่ในระดับต่ำ นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าจะนำวัสดุชีวภาพใหม่นี้ไปใช้ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกระดูกที่สูญเสียไปจากโรคหรือการบาดเจ็บ เช่น ข้อบกพร่องของกรามที่มาจากการบาดเจ็บ หรือการผ่าตัดมะเร็ง นอกจากนี้ ยังช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกรอบรากฟันเทียมได้ และขยะเหล่านี้ยังสามารถเปลี่ยนเป็นสารเคมีและวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อช่วยแก้ไขสิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที เช่น การบำบัดและลดการปนเปื้อนของน้ำเสีย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy