7 กันยายน 2565 ทยอยคืน “ปลาเรืองแสงจีเอ็มโอ” หลังกรมประมง ขีดเส้น 3 เดือน

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/319149

ปลาเสือเยอรมัน และปลาม้าลาย ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) จากสารเรืองแสงในแมงกะพรุน เพื่อทำให้ปลามีสีสันสวยงาม ดึงดูดผู้เลี้ยงปลาสวยงาม โดยพบมีทั้ง สีแดง ชมพู ฟ้า เขียว ม่วงอ่อน ถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ (บางขันธ์) จ.ปทุมธานี โดยปลาทั้ง 2 ชนิดอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นประเภทที่ 10 ปลาที่ดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งกรมประมงเพิ่งประกาศให้ผู้ที่ครอบครองต้องนำมาคืนให้กับกรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 30 พ.ย. 65 นี้ นางอรุณี รอดลอย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงาม กรมประมง กล่าวว่าหลังจากมีการนำเข้าปลาจีเอ็มโอที่เริ่มพบการเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น กรมประมงเป็นห่วงเรื่องผลกระทบ เนื่องจากสัตว์จีเอ็มโอสามารถถ่ายทอดยีนไปยังรุ่นลูกได้ หากปล่อยให้มีการเพาะเลี้ยงในอนาคตอาจจะกระทบต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะที่น่ากังวล คือ ปลากัด ถูกนำมาดัดแปลงพันธุกรรม กลายเป็นปลากัดเรืองแสง เพราะไทยมีปลากัดสวยงามที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดการผสมข้ามพันธุ์ และปนเปื้อนทางพันธุกรรม อาจจะมีผลกระทบในระยะยาว นางอรุณีกล่าวว่าหลังจากประกาศให้ผู้ที่ครอบครองปลาเรืองแสงจีเอ็มโอส่งคืนกรมประมง พบในช่วงเกือบ 1 สัปดาห์ มีผู้ทยอยนำมาส่งคืนแล้ว บางคนไม่ได้แจ้งนำมาวางไว้เฉย ๆ แอบวางไว้ตรงหน่วยงานของกรมประมง จึงอยากฝากว่า ไม่อยากให้กลัวเพราะยังอยู่ในช่วงที่ประกาศให้นำมาคืน มาส่งมอบให้กรมประมง บางคนกลัวจะมีความผิดซึ่งมีโทษค่อนข้างสูงทั้งจำทั้งปรับ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy