6 มีนาคม 2566 BCG กับโอกาสเศรษฐกิจไทยในยุคโลกผันผวน

(https://news.ch7.com/detail/627782)
หลายคนคงได้ยินคำว่า BCG เป็นประจำ ว่าเป็นจุดขายใหม่ของเศรษฐกิจไทย BCG คืออะไร
เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยอย่างไร #เศรษฐศาสตร์ตลาดสด จะเล่าให้ฟัง
BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy ย่อมาจากคำ 3 คำ คือ Bioeconomy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว BCG คือกระแสหรือเทรนด์ธุรกิจโลกเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนนั่นเอง เป้าหมายของ BCG คือ มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า โดยการนำมาใช้ซ้ำ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจหรือธุรกิจโดยดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยหลัก BCG เชื่อว่าสอดรับกับจุดแข็งของไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ภาคเกษตรและอาหารเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ การพัฒนาบนหนทางนี้เชื่อว่า จะช่วยให้เศรษฐกิจไทย
เพิ่มมูลค่าการผลิตและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ตลอดจนเกิดความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ท่ามกลางความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อน จนก่อปัญหาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ทั่วโลก การพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักการ BCG จึงเชื่อว่าเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนกว่า แก้ปัญหาโลกร้อนได้มากกว่า
โดยหากพิจารณาในเชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ BCG ช่วยเพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยขนาดเศรษฐกิจ BCG เพิ่มจาก 3.4 ล้านล้านบาท ในปี 2562 เป็น 4.4 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ในอนาคตจะยิ่งเพิ่มประโยชน์มากขึ้น ในแง่ช่วยเพิ่มการจ้างงานประเภทใหม่กลุ่มรายได้สูง โดยจากการประเงิน คาดว่าต้องการแรงงานทักษะสูงเพื่อสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ BCG มากถึง 10 ล้านตำแหน่งภายในปี 2570 นอกจากนี้ BCG ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้เกษตรกร รายได้ในภาคชนบทช่วยลดการใช้ทรัพยากร ลดขยะ ยกระดับห่วงโซ่การผลิต