6 มีนาคม 2566 เครื่องดื่มไทยปรับตัวตามเทรนด์ บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โตยั่งยืน

บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม

ในโอกาสครบรอบ 15 ปี สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย “ประธาน ไชยประสิทธิ์” นายกสมาคมฯ ได้ประกาศยุทธศาสตร์ผลักดัน  “อุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย”ให้เติบโตสู่ความยั่งยืนสอดคล้องความต้องการผู้บริโภค แต่ละปีจะมีปริมาณการบริโภคในประเทศที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 90% ของปริมาณการผลิตเครื่องดื่มทั้งหมด แต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทตลาดด้วย

             ประเทศไทยผลักดันให้มีการจัดตั้ง “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” หรือ กรม Climate Change ขึ้นมาเป็นหนาวยงานหนึ่งในสังกัด ทส. เพื่อแสดงให้นานาอารยประเทศได้เห็นถึงความตั้งใจ และความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายเพื่อดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าจะจัดตั้งในเดือนเม.ย.-พ.ค. 2566 นี้ โดยมีภารกิจหลักและหน้าที่จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และลดก๊าซเรือนกระจก ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินการ และเสนอแนวทางตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมี “ตลาดคาร์บอน” ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ที่จะมีกฎระเบียบข้อบังคับมากำกับการซื้อขายอย่างชัดเจน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย

2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ มีการตั้งเป้าหมายกันขึ้นเองตามความสมัครใจ และไม่มีผลผูกพัน
ตามกฎหมายด้วยเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าชุมชนประมาณ 12,117 แห่ง ทั่วประเทศ              

อย่างไรก็ตาม ทส. อยู่ระหว่างผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกฎหมายฉบับแรกของไทย ยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) เป็นภาคบังคับ (Mandatory)
มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงิน การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy