6 มิถุนายน 2566 ช็อกโกแลตสามารถแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร

เปลือกเมล็ดโกโก้ที่ไม่ใช้แล้วกำลังถูกนำไปเปลี่ยนเป็นถ่านชีวภาพ

ที่มา: https://newsinfo.inquirer.net/1779547/how-chocolate-could-counter-climate-change-2

โรงงานอิฐแดงในเมืองท่าฮัมบูร์กของเยอรมัน สามารถเปลี่ยนเปลือกเมล็ดโกโก้ให้เป็นผงสีดำที่มีศักยภาพในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสารที่ชื่อว่า ถ่านชีวภาพ (Biochar) ซึ่งถูกผลิตโดยการให้ความร้อนแก่เปลือกโกโก้ในห้องที่ปราศจากออกซิเจนจนถึงอุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า กระบวนการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยหรือเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีต “สีเขียว“ ได้ โดยในตอนนี้อุตสาหกรรมถ่านชีวภาพ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เทคโนโลยีนี้นำเสนอวิธีการใหม่ในการกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศของโลก

Peik Stenlund ซีอีโอของ Circular Carbon กล่าวกับสื่อมวลชนที่โรงงานถ่านชีวภาพว่า “เรากำลังย้อนวัฏจักรคาร์บอน โดยถ้าหากเปลือกโกโก้ถูกกำจัดตามปกติ คาร์บอนภายในที่ไม่ได้ใช้จะถูกปล่อยสู่ ชั้นบรรยากาศนะบวนการย่อยสลาย“ David Houben นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมจากสถาบัน UniLaSalle ในฝรั่งเศสกล่าวเสริมว่า ด้วยกระบวนการนี้คาร์บอนจะถูกเก็บไว้ในถ่านชีวภาพแทนซึ่งถ่านชีวภาพ  1 ตัน สามารถกักเก็บ CO2 ได้เทียบเท่ากับ 2.5 ถึง 3 ตัน    

ตามรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ถ่านชีวภาพอาจถูกนำมาใช้เพื่อดักจับ CO2 จำนวน 2.6 พันล้านตัน จาก 40 พันล้านตัน ในปัจจุบันที่มนุษย์ผลิตขึ้นในแต่ละปี

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy