6 พฤษภาคม 2568 ไทยลงนาม BBNJ แล้ว ใช้ทะเลหลวงร่วมกับทุกประเทศ อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

มหาสมุทรเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและระบบนิเวศ แต่หากใช้ประโยชน์อย่างไม่มีการควบคุมจะนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง ทั้งนี้ในมหาสมุทรจะมีพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ หรือเรียกว่า ‘ทะเลหลวง’ (High Seas) ซึ่งมีทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเล (MGRs – Marine Genetic Resources) และระบบนิเวศที่หลากหลาย ที่เปิดให้ทุกประเทศสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นการเดินเรือ การทำประมง หรือการวิจัยทางทะเล ควบคุมโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea : UNCLOS) ตั้งแต่ปี 2537 โดยได้กำหนดสิทธิและข้อบังคับสำหรับรัฐชายฝั่งและการใช้ทรัพยากรทะเลในพื้นที่ต่างๆ เช่น เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) มีสิทธิในการใช้ทรัพยากรภายในระยะ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งทะเลหลวง และ The Area – พื้นที่ใต้ทะเลหลวงที่ถือเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ และควบคุมโดย International Seabed Authority (ISA) ทั้งนี้ ทะเลหลวงครอบคลุมมากกว่า 60% ของมหาสมุทรโลก แต่ยังขาดการควบคุมที่เป็นระบบ

ปัญหา High Seas และ The Area

ทะเลหลวงไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ หลายประเทศและบริษัทเอกชนใช้ทรัพยากรพันธุกรรม
เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ แต่ไม่มีระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น

– การใช้ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเล (MGRs) โดยไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ หลายประเทศและบริษัทเอกชนใช้ทรัพยากรพันธุกรรมจากมหาสมุทรเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพโดยไม่มีระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ควรเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ

– การประมงเกินขนาด (Overfishing) ทำให้เกิดการลดลงของประชากรสัตว์น้ำ การทำประมงในทะเลหลวงไม่มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวด ส่งผลให้ประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว โดยสถิติระบุว่า มากกว่า 90% ของประชากรปลาขนาดใหญ่ลดลงจากการทำประมงเกินขนาด

– มลพิษทางทะเลและขยะพลาสติก ขยะพลาสติกและสารเคมีจากกิจกรรมของมนุษย์ถูกปล่อยลงสู่ทะเลหลวงโดยไม่มีมาตรการกำกับดูแลที่ชัดเจน ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ขยะพลาสติกในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นกว่า
8 ล้านตันต่อปี โดยส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่ทะเลหลวงและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

การทำเหมืองใต้ทะเล (Deep-Sea..Miningและผลกระทบต่อระบบนิเวศ การขุดเจาะทรัพยากรใต้ทะเลหลวงสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศที่เปราะบาง โดยมีการขอใบอนุญาตทำเหมืองใต้ทะเลแล้วกว่า
30 โครงการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1178975)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy