6 ธันวาคม 2565 สผ. จับมือ 4 หน่วยงานถกปมกำแพงริมชายฝั่ง แก้กัดเซาะชายฝั่ง

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_7400011

สผ.ได้จัดประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล กรณีการก่อสร้างกำแพงริมชายฝั่ง ติดแนวชายฝั่ง โดยมีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่ง สำนักงบประมาณ และ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ เข้าร่วมประชุม 

  นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสผ. เปิดเผยว่า จากการประชุมมีผลการสรุป ดังนี้

  1. การนำกำแพงริมชายฝั่งติดแนวชายฝั่ง ความยาวตั้งแต่ 200 เมตร ขึ้นไป กลับมาจัดทำ EIA อาจไม่ใช่กลไกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ จึงควรใช้กลไกในการจัดทำ SEA เพื่อศึกษาภาพรวม
เชิงพื้นที่

  2. กลไกการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของ ทช.
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามกลไกของ ทช. ดังกล่าว ทำให้โครงการกำแพงริมชายฝั่ง ติดแนวชายฝั่ง
ของกรมโยธาธิการและผังเมืองมีจำนวนลดลง

  3. สำนักงบประมาณ ได้นำข้อมูลโครงการที่ผ่านการพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรองฯ
ของ ทช. มาประกอบการพิจารณาความพร้อมของโครงการในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้วย จึงเป็นกลไกที่ช่วย
ในการกลั่นกรองโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

  4. กลไกในการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของ ทช.
มีความเหมาะสมในการควบคุมดูแลบังคับใช้กับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกัน
ตลิ่งริมทะเลทุกขนาดอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำ “กำแพงริมชายฝั่ง ติดแนวชายฝั่ง ความยาวตั้งแต่ 200 เมตร
ขึ้นไป” กลับมาเป็นโครงการที่ต้องจัดทำ EIA

  5. โครงการที่ได้รับเรื่องร้องเรียนที่ผ่านมาเป็นโครงการเดิม ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมเจ้าท่าจะต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา และต้องมีชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและผู้ร้องเรียนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

  6. ที่ประชุมมีประเด็นหารือเกี่ยวกับความยั่งยืนและสภาพการบังคับตามกลไกการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของ ทช.

  ทั้งนี้ สผ. อยู่ระหว่างสรุปข้อมูลทั้งหมด และจะนำไปหารือร่วมกับชมรม Beach for Life พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียให้ครบทุกภาคส่วนตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดเพื่อป้องกันปัญหาและผลกระทบในเรื่องนี้อย่างรอบด้านและยั่งยืน ก่อนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาโดยเร็วต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy