5 พฤศจิกายน 2566 นักออกแบบชาวดัตช์เปลี่ยนดินที่เต็มไปด้วยสารเคมีให้กลายเป็นอิฐสำหรับก่อสร้าง

อิฐที่ทำจากดินเหนียวที่ปนเปื่อน PFAS

ที่มา: https://www.dezeen.com/2023/10/27/designer-pfas-pollution-contaminated-soil-bricks-design/

นักออกแบบ Emy Bensdorp ได้ค้นพบวิธีทำความสะอาด PFAS จากดินเหนียวที่ปนเปื้อนโดยการเผามันลงในอิฐซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จัดแสดงที่ Dutch Design Week ซึ่ง PFA หรือ per- and polyfluoroalkyl substances คือสารเคมีกลุ่มใหญ่ที่มีการนำกันอย่างแพร่หลายมาทำสิ่งของต่าง ๆ เช่น กระทะกันติด ร่ม และมาสคาร่า ซึ่งเป็นสารที่ไม่สลายตัวในสิ่งแวดล้อมเมื่อรั่วไหลลงสู่ดินและน้ำ

Bensdorp ได้พิสูจน์แล้วว่าเธอสามารถกำจัดสารเคมี PFAS ออกจากดินเหนียวที่ปนเปื้อนได้โดยการเผาลงในอิฐโดยใช้กระบวนการผลิตอิฐมาตรฐาน โดยเซรามิกจะถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิระหว่าง 900 ถึง 1,200 องศาเซลเซียสในเตาเผา ซึ่งทำลายสารเคมี PFAS จนไม่สามารถตรวจพบได้ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย Bensdorp กล่าวว่า “สิ่งที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ก็คือ พวกมันสามารถทนน้ำ กันไฟ มีอายุการใช้งานยาวนาน และพวกมันสามารถสะสมทางชีวภาพด้วยเช่นกัน”

กระบวนการของ Bensdorp ใช้ความร้อนจัดของเตาเผาเพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า defluorination ซึ่งจะสลายสายโซ่ของอะตอมฟลูออรีนที่ประกอบเป็น PFAS โดย Bensdorp เชื่อว่าดินเหนียวที่ปนเปื้อนดังกล่าว สามารถสร้างนำไปทำเป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กระเบื้องมุงหลังคา หรือเซรามิกอื่น ๆ ได้ แต่อิฐน่าเป็นทางออกที่มีแนวโน้มมากที่สุด เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy