4 ธันวาคม 2563 วิจัยพันธุกรรมชี้มนุษย์โบราณทนต่อควันพิษ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1988427

การสร้างและใช้ไฟ เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดในวิวัฒนาการของมนุษย์ ประโยชน์ของไฟ เช่น สร้างความอบอุ่น ป้องกันสัตว์นักล่า ใช้ในการปรุงอาหาร ข้อเสียของไฟคือ ทำให้คนได้รับสารพิษในควัน อย่างไรก็ดี การใช้ไฟในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในการวิจัยทางโบราณคดีของทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบัน ก่อนหน้านี้มีการวิจัยชี้ว่า โฮมินิดส์ (hominids) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคแรก อาจรอดชีวิตมาได้หลายพันปีในทวีปยุโรปโดยไม่ต้องเข้าถึงไฟ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีการศึกษาทางพันธุกรรมที่ขัดแย้งกัน ๒ ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นของนักวิทยาศาสตร์อเมริกันกลุ่มหนึ่งศึกษาโปรตีนตัวรับเอริลไฮโดรคารบ์อน (aryl hydrocarbon receptor หรือ Ah receptor) ที่ไวต่อสารพิษที่พบในควันไฟ และมีความแตกต่างกันในโฮมินิดส์ ๒ กลุ่ม มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีความไวต่อสารพิษเหล่านี้มากกว่ามนุษย์ยุคใหม่ถึงพันเท่า ส่วนฉบับที่ ๒ ที่มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยไลเดน และมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยวาเคอนิงเงิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ กลับได้ข้อสรุปที่ตรงกันข้าม จากการศึกษายีนที่แตกต่างกัน ๑๙ ยีน ทีมวิจัยพบว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีสายพันธุ์ของยีนที่ต้านทานต่อผลกระทบที่เป็นอันตรายของสารพิษมากกว่ามนุษย์ยุคใหม่ ทั้งนี้ การวิจัยนี้เน้นถึงความสำคัญหลักของการทำงานของโปรตีนในบริบททางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy