4 กุมภาพันธ์ 2563 วิกฤติ “คลองกลาย” ทะเลรุกกว่า 10 กม. ใช้น้ำไม่ได้ครึ่งสาย

ที่มา: https://siamrath.co.th/n/130550

วิกฤติลุ่มน้ำคลองกลายน้ำทะเลไหลรุกเข้าไปกว่า 10 กม. กลายเป็นน้ำเค็มเกือบครึ่งเส้นทางสายน้ำ พื้นที่การเกษตรนับแสนไร่ไม่สามารถใช้น้ำได้ น้ำจืดต้นทุนน้อยจากเหตุพื้นที่สวนทุเรียนต้นน้ำใช้น้ำมหาศาล คลองกลายที่ไหลออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำกลาย ต. กลาย อ. ท่าศาลา เป็นสายน้ำที่สำคัญอีกแหล่งของ จ.นครศรีธรรมราช ภูมิประเทศในย่านนี้ถูกเรียกว่า ลุ่มน้ำคลองกลาย เป็นพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ ตลอดแนวสายน้ำคลองกลายที่มีต้นน้ำจากเทือกเขาหลวงใน อ. นบพิตำ ตลอดเส้นทางกว่า 30 กิโลเมตรเต็มไปด้วยสวนทุเรียน มังคุด ยางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันสภาพคลองกลายกำลังวิกฤติ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุตนเพียงพอน้ำทะเลได้ไหลลึกเข้ามายังพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นในกว่า 10 กม. ส่งผลให้ชาวบ้านตลอดสายน้ำพื้นที่รวมกันกว่า 200 ตารางกิโลเมตร นับแสนไร่ไม่สามารถใช้น้ำจากคลองสายนี้ได้ ทั้งที่เป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ นายวราพงศ์ นาคโต เกษตรกรชาวสวนทุเรียนหมี่ที่ 5 ต. กลาย อ. ท่าศาลา บอกว่าน้ำเค็มจัดไม่สามารถสูบขึ้นมาทำการเกษตรได้ สองข้างสายน้ำเดิมมีการใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งด้วยการสูบน้ำขึ้นมารดสวน แต่ปัจจุบันไม่สามารถทำได้ ส่งผลต่อวิถีการปลูกพืชล้มลุก ขณะที่เกษตรกรต้องเร่งลงทุนในการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อสูบน้ำขึ้นมาหล่อเลี้ยงสวนผลไม้ สำหรับแนวสองข้างลำคลองกลายนั้น ชาวบ้านสามารถเริ่มหาสัตว์น้ำในช่วงค่ำกลับพบว่า สิ่งที่ได้กลับเป็นปลาทะเล เช่น ปลาดุกทะเล ปลากระบอก ปลาลิ้นหมา กุ้งทะเล บางคนสามารถจับหมึกได้แม้จะอยู่ในคลองกลายที่ห่างจากปากน้ำถึงเกือบ 10 กม. หลายคนบอกว่าน้ำทะเลไม่เคยไหลลึกเข้าในพื้นที่ชั้นในเช่นนี้มาก่อน นายยุทธยา พิมเสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำทะเลที่ไหลรุกเข้าไปในพื้นที่ชั้นในกว่า 10 กม. ที่แน่ๆ คือ ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้เลย ปัญหาการลงทุนเพิ่มขึ้นมีการขุดเจาะบาดาล เพื่อนำน้ำมาใช้ในสวนทุเรียน มังคุด หลังจากนี้ไม่นานหากมีระยะเวลาฝนทิ้งช่วงยาวนาน น้ำใต้ดินจะหมดลงอีก ในพื้นที่ต้นน้ำบริเวณเชิงเขาใน อ. นบพิตำ จ. นครศรีธรรมราช เต็มไปด้วยพื้นที่สวนทุเรียน และมังคุดนอกฤดูกาลซึ่งต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาล หลังจากฝนทิ้งช่วงมีการกักเก็บน้ำผ่านลำห้วยต้นน้ำของคลองกลาย เพื่อใช้ในการเกษตรยิ่งทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนของคลองกลายมีไม่เพียงพอที่จะผลักดันน้ำเค็มยิ่งเป็นเหตุให้การรุกของน้ำทะเลเข้ามายังพื้นที่ชั้นในรุนแรงขึ้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy