30 เมษายน 2567 Kick OFF “เนื้อสัตว์รักษ์โลก บนถาดย่อยสลายได้”

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_8207448
2 แบรนด์ “รักษ์โลก” แบรนด์ “มีทส์ มี” เนื้อสัตว์ตัดแต่ง ไม่มีส่วนใดเหลือเป็นขยะ และ ถาดชานอ้อย บรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อพืชธรรมชาติ ย่อยสลายได้ 100% ภายใต้แบรนด์ “Gracz” ร่วมมือกัน เปิดตัวสินค้า “เนื้อสัตว์รักษ์โลก บนถาดย่อยสลายได้” วางจำหน่าย ใน ท็อปส์ และท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ สาขาที่ร่วมรายการ เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคและการดูแลสิ่งแวดล้อมโลกไปพร้อมกัน
ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่มนุษย์มีความวิตกกังวลตลอดปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดคุยกันอย่างแพร่หลายบนเวทีโลก และมีความพยายามจะแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าบางปัญหากลับรุนแรงขึ้น และกล่าวกันว่า 5 ปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบไปทั่วโลก “ขยะอาหาร” คือ 1 ใน 5 ของปัญหานั้น แบรนด์ Meats Me (มีทส์ มี) และแบรนด์ “Gracz” บรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อพืชธรรมชาติ ย่อยสลายได้ 100% ร่วมมือกันเปิดตัวสินค้า “เนื้อสัตว์รักษ์โลก บนถาดย่อยสลายได้” วางจำหน่าย ใน ท็อปส์ และท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ สาขาที่ร่วมรายการ เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคและการดูแลสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาภาวะวิกฤตโลกไปพร้อมกัน โดยการนำของผู้บริหารทั้งสองแบรนด์คุณภาพที่มีความรับผิดชอบเพื่อการส่งต่อถึงผู้บริโภคอย่างปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้าน นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งและประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อพืชธรรมชาติ ย่อยสลายได้ 100% ภายใต้แบรนด์ “Gracz” ซึ่ง นพ.วีรฉัตร เปิดเผยว่า สมัยที่เริ่มธุรกิจครั้งแรก เพียงเราเกิดจากความคิดที่ว่า ไม่อยากให้คนเป็นมะเร็ง แค่อยากหาของมาทดแทนโฟมและพลาสติก จนมาเจอเยื่อพืชธรรมชาติ และพัฒนาจนเป็นสินค้า Gracz ที่สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยลงดินใน 45 วัน เมื่อใช้เสร็จไม่ต้องรอวันเผาเหมือนขยะทั่วไป นพ.วีรฉัตร กล่าวอีกว่า เยื่อพืชธรรมชาติใหม่ ๆ นอกจากชานอ้อยที่มีเส้นใยขนาดกลาง ก็เริ่มหาเยื่อใยทั้งสั้นและยาวมาผสมกันให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น ขึ้นอยู่กับของเหลือทางการเกษตรแต่ละฤดูกาล ทุกวันนี้ส่วนผสม 50 – 60% ในกล่อง Gracz ยังเป็นชานอ้อย ผสมกับเยื่อใยสารพัดชนิด เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใยสับปะรด ผักตบชวา ยึดโยงด้วยแป้งสูตรพิเศษคล้าย ๆ แป้งเปียกเป็นตัวเชื่อม ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จดสิทธิบัตรระดับเอเชียไว้แล้ว