30 ตุลาคม 2566 เตือนฝุ่น PM 2.5 ถล่มกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เอลนีโญกระตุ้นฝุ่นเล็กกว่าเดิม

ที่มา: https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2736465?gallery_id=2
ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ เชียงใหม่ มีแนวโน้มสูงขึ้นช่วงปลายปี โดยส่วนหนึ่งเกิดจากเอลนีโญซึ่งทำให้ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กลง ขณะเดียวกันรวมไปถึงปัจจัยการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้ฝุ่นมีความรุนแรงมากกว่าปีก่อน โดยเชียงใหม่ยังได้รับความเสี่ยงจากฝุ่นที่พัดมาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งคาดว่าจะเริ่มรุนแรงในเดือน ธ.ค. นี้
แนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยลบเกิดจากสถานการณ์เอลนีโญ ทำให้อากาศแห้งแล้งกว่าทุกปี มีผลให้เกิดฝุ่นจำนวนมาก และต้นกำเนิดฝุ่นที่น่าห่วง คือ ฝุ่นที่เกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะหลังสถานการณ์โควิด ที่คนเริ่มกลับมาทำงาน ทำให้ปริมาณฝุ่นในส่วนนี้มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการขนส่งและเดินทางที่มีการเผาไหม้ของรถ อีกปัจจัยทำให้ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นในปีนี้ เกิดจากความต้องการด้านอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมีการเผาวัชพืชเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 มีความรุนแรงตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธ.ค. ไปจนถึงต้นปีใหม่และเริ่มทวีความรุนแรงอีกระลอกช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย. ด้านพื้นที่เสี่ยงที่จะมีผลจากฝุ่น PM 2.5 คือ 1. กรุงเทพฯ ปริมณฑล มีผลกระทบจากฝุ่นที่เกิดจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ 2. ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย จะมีผลได้รับปัญหาจากมลพิษฝุ่นควันที่ลอยข้ามแดนจากฝั่งเมียนมา 3. อีสานตอนบน เป็นอีกพื้นเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ด้วยกระแสลมจากภาวะเอลนีโญ