3 เมษายน 2566“งานวิจัยเผยว่า สาหร่ายทะเลสีแดงอาจเป็นคำตอบในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากสัตว์”

ที่มา : https://www.abc.net.au/news/2023-04-03/low-methane-emissions-cows-seaweed-milk-dairy-industry/102169786
การศึกษาครั้งใหม่ได้ปูทางให้อุตสาหกรรมนมสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้โดยการให้อาหารวัวที่ผสมสาหร่ายแดง โดยวารสาร Animal Feed Science and Technology ระหว่างประเทศพบว่า การเทน้ำมันคาโนลาที่ผสมสาหร่ายลงบนอาหารสัตว์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ หรือปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้
หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ FutureFeed ดร. Rob Kinley กล่าวว่า “จากมุมมองด้านกฎระเบียบ การวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในอุตสาหกรรมนม และการลดการปล่อยก๊าซมีเทนถือเป็นโอกาสใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมนี้” เนื่องจากสาหร่ายสามารถลดก๊าซมีเทนที่ปล่อยออกมาจากวัวได้เพราะอุดมไปด้วยโบรโมฟอร์มซึ่งยับยั้งการผลิตก๊าซมีเทนในสัตว์กีบ เช่น วัว แกะ แพะ
งานวิจัยหลายชิ้นที่ดำเนินการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายทะเลเป็นสารเติมแต่งอาหารสัตว์ที่สามารถช่วยลดการผลิตก๊าซมีเทนได้ 80 ถึง 98 เปอร์เซ็นต์ หากการปล่อยมลพิษทางการเกษตรของรัฐที่เกิดจากปศุสัตว์ลดลงร้อยละ 80 ก็จะเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 9 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยจากรถยนต์ 2 ล้านคันบนท้องถนน