3 สิงหาคม 2566 Power of The Act : บทบาทของกฎหมายในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทบาทของกฎหมายในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ที่มา : Infoquest (https://www.infoquest.co.th/2023/322965)

กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เผยแพร่ข้อมูลว่า ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และมีแนวทางการดำเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้พัฒนาการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมภายในประเทศ เพื่อรองรับพันธกรณีที่เกิดขึ้นในระดับนานาชาติมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งกำลังจะเข้าสู่กรอบการดำเนินงานตามข้อกำหนดของความตกลงปารีสที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพูมิอากาศเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่ปีพ.ศ.2673 (ค.ศ. 2030) เป็นต้นไป

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมการด้านโครงสร้างเชิงสถาบันและกฎหมายภายในประเทศให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน และแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง สิ่งแวดล้อม ประเด็นปฏิรูปที่ 3 ผลักดันทุกภาคส่วนให้ร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้กำหนดให้มีการออกประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมโดยเสริมสร้างระบบและกลไกภายในประเทศให้สามารถดำเนินภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กองทุนสิ่งแวดล้อม

มาตรา 46 วรรคหนึ่ง (3) แห่งร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.….
(ฉบับรับฟังความคิดเห็นสาธารณะทั่วประเทศ) บัญญัติให้ เจ้าของกิจการหรือกิจการอื่นใดสามารถยื่น
คำขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อใช้ในการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมด้านการลดก๊าซเรือนกระจก คำถามที่ตามมาคือการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นมีลักษณะอย่างไร และการดำเนินใดมีลักษณะเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกตามความหมายของกฎหมาย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy