3 สิงหาคม 2566 หินพลาสติกก่อให้เกิดมลพิษใหม่ต่อสิ่งแวดล้อมในชายฝั่ง

เศษหินพลาสติก

ที่มา: https://news.mongabay.com/2023/08/plastics-waste-marine-ocean-beaches-pollution-plastiglomerate-pyroplastic-plasticrust/

พบเจอพลาสติกที่หลอมเหลวผสมกับเศษหินที่เรียกว่า plastiglomerate บนชายหาดในเกาะทะเลชวาของอินโดนีเซีย โดย Dwi Amanda Utami หัวหน้าทีมวิจัย นักธรณีวิทยาจากสำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติของอินโดนีเซีย กล่าวว่า มลพิษพลาสติกประเภทใหม่เหล่านี้อาจนำไปสู่การปนเปื้อนทางเคมีของที่อยู่อาศัยชายฝั่งใกล้เคียง เช่น แนวปะการัง ทุ่งหญ้าทะเล และป่าชายเลน

ขยะพลาสติกในมหาสมุทรส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากสัตว์ทะเล เช่น วาฬ เต่า และปลา ซึ่งเข้าใจผิดว่าลอยขยะพลาสติกเป็นอาหาร และกลืนวัสดุที่ย่อยไม่ได้เข้าไป โดยพลาสติกเหล่านี้จะสะสมในร่างกายของพวกมัน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและวนกลับมาสู่มนุษย์ในที่สุด

อินโดนีเซียผลิตขยะพลาสติกประมาณ 6.8 ล้านเมตริกตันต่อปี จากการสำรวจในปี 2017 โดย Indonesia National Plastic Action Partnership ซึ่งมีขยะเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิลในศูนย์รีไซเคิล 1,300 แห่งทั่วประเทศ ในขณะที่พลาสติกประมาณ 620,000 เมตริกตันถูกทิ้งลงในมหาสมุทร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy