3 มกราคม 2568 จากภัยพิบัติถึงความมั่นคงอาหาร วิกฤตสิ่งแวดล้อม 2568 ไทยเสี่ยงระอุ 45 C°

จากภัยพิบัติถึงความมั่นคงอาหาร วิกฤตสิ่งแวดล้อม 2568 ไทยเสี่ยงระอุ 45 C°

ภัยพิบัติที่รุนแรงเกินพิกัด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ ล้วนเป็นผลจากสภาพอากาศที่แปรปรวนจากโลกร้อน ขณะที่นักวิชาการต่างมองว่าความรุนแรงของภัยธรรมชาติในปี 2567 เป็นเพียงแค่สัญญาณเตือน หรือ ที่มักถูกเปรียบว่าเป็นแค่ “เผาหลอก” เพราะความหนักหน่วงที่แท้จริงจากสภาพอากาศโลกที่แปรปรวนจะเริ่มต้นขึ้นในปี 2568

ในปี 2567 ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งปีที่ไทยต้องเผชิญกับภัยพิบัติรุนแรง ทั้งเหตุดินโคลนถล่มเชียงราย อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ที่เผชิญกับมรสุมจนถึงเดือนสุดท้ายของปี ไปจนสภาพของระบบนิเวศทะเลที่ทรุดโทรมจากปัญหาปะการังฟอกขาว ไปจนถึงแหล่งหญ้าทะเลที่ลดจำนวนลงไปมหาศาลจนนำมาสู่การตายของพะยูนไทย ไม่ต่ำกว่า 48 ตัว ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ภัยพิบัติที่รุนแรงเกินพิกัด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ ล้วนเป็นผลจากสภาพอากาศที่แปรปรวนจากโลกร้อน ขณะที่นักวิชาการต่างมองว่าความรุนแรงของภัยธรรมชาติในปี 2567 เป็นเพียงแค่สัญญาณเตือน หรือ ที่มักถูกเปรียบว่าเป็นแค่ “เผาหลอก” เพราะความหนักหน่วงที่แท้จริงจากสภาพอากาศโลกที่แปรปรวนจะเริ่มต้นขึ้นในปี 2568

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย อ้างอิงข้อมูลจากองค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (The World Meteorological Organisation หรือWMO) ที่คาดการณ์ว่า ภาวะLaNiña (ลานีญา) จะยังมีอิทธิพลในพื้นที่เอเชียระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2567 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีผลให้เกิดฝนตกในพื้นที่เอเชียใต้และพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ทำให้มีอากาศเย็นลงและสภาวะลานีญาจะเริ่มอ่อนกำลังลงเริ่มเข้าสู่ภาวะเอลนีโญระดับต่ำถึงระดับปานกลาง (55%) ในช่วงต้นเดือนมีนาคมอุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2568

โดยคาดว่าในปี 2568 ประเทศในแถบเอเซียจะมีอุณหภูมิสูงสุดในรอบทศวรรษโดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจะประสบสภาวะแห้งแล้งมากกว่าสภาวะปกติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและลม คาดว่าประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 45 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อนโดยสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผลการศึกษาฉบับใหม่ ซึ่งตีพิมพ์ผ่านวารสาร Science เมื่อเดือนธันวาคม 2567  พบว่า สิ่งมีชีวิตเกือบ 1 ใน 3 สายพันธุ์ อาจเสี่ยงสูญพันธุ์ไปจากโลกภายในปี 2100 หากเรายังไม่สามารถหยุดยั้งภาวะโลกร้อนได้
โดยถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยโลกทะลุเกิน 1.5 องศาฯ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy