29 มิถุนายน 2566 การศึกษาพบว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศมีส่วนก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว

ผู้คนเดินผ่านพายุฝุ่นในวันอากาศร้อน

ที่มา: https://www.theguardian.com/environment/2023/jun/28/climate-crisis-linked-to-rising-domestic-violence-in-south-asia-study-finds

การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน JAMA Psychiatry พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส มีส่วนเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมากกว่า 6.3%

Michelle Bell ศาสตราจารย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัย Yale และผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า “มีความเป็นไปได้ทั้งทางสรีรวิทยาและสังคมวิทยา ที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจส่งผลต่อความเสี่ยงของความรุนแรง” โดยความร้อนที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปสู่การตายของพืชผล ทำลายโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ กักตัวคนให้อยู่ภายในบ้านทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้ ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ครอบครัวตกอยู่ภายใต้ความเครียดและเพิ่มอัตราความรุนแรง นักวิจัยพบว่าความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความร้อนนั้นเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มรายได้ แต่พบได้เยอะที่สุดคือในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและครัวเรือนในชนบท

นอกจากปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจแล้ว ความร้อนยังสามารถมีผลต่อร่างกายของมนุษย์ได้ โดย Bell กล่าวว่า “มีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่าความร้อนสูงสามารถส่งผลต่อความเครียด ลดยับยั้งชั่งใจ เพิ่มความก้าวร้าว และทำให้อาการป่วยทางจิตรุนแรงขึ้น” การวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการสัมผัสความร้อนเฉียบพลันนั้นสัมพันธ์กับการผลิตอะดรีนาลีนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถกระตุ้นความก้าวร้าวและกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ซึ่งรวมถึงโรควิตกกังวลและโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy