29 ตุลาคม 2566 ผู้ว่าฯ ชัยนาท เปิด “ธนาคารขยะรีไซเคิล เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา”

ผู้ว่าฯ ชัยนาท เปิด “ธนาคารขยะรีไซเคิล เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา”

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ (https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG231026152856221)

ที่ทำการ “ธนาคารขยะรีไซเคิล” บริเวณหมู่บ้านวงเดือน หมู่ที่ 3 ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ธนาคารขยะรีไซเคิล เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา” โดยมี รอง ผอ.กอ.รมน จังหวัดชัยนาท ท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท นายกเทศมนตรีตำบลสามง่ามพัฒนา และผู้นำชุมชน เข้าร่วมพิธีฯ

           นางสาวธนศธร จิตรหาญ นายกเทศมนตรีตำบลสามง่ามพัฒนา กล่าวว่า เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนาร่วมกับคณะกรรมการชุมชนทั้ง 3 ชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้ง “ธนาคารขยะรีไซเคิล เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ โดยมีรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประเภทขยะรีไซเคิลอย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะการจัดการขยะอย่างถูกวิธี แบบมีส่วนร่วม สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” การขับเคลื่อนนโยบาย “จังหวัดชัยนาท เมืองสะอาด” สนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหา การจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565-2570) อีกทั้งยังเป็นการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลไปขาย เพื่อสร้างรายได้ มีการจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและรับซื้อขยะรีไซเคิลจากประชาชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน ทั้งนี้เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนาเริ่มดำเนินการธนาคารขยะรีไซเคิล  เดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 290 คน มียอดเงินรวมทั้งหมด 76,970.51.- บาท นอกจากนี้รับซื้อขยะรีไซเคิลถึงหน้าบ้านเนื่องจากอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้าน และผู้สูงอายุที่เดินทางมาธนาคารไม่สะดวก ซึ่งผลตอบรับที่ได้เป็นที่พึงพอใจของชาวบ้าน
มีการบอกต่อการเข้าร่วมโครงการขยะ ทำให้มียอดสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกเดือนอีกด้วย นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ลงพื้นที่สวนศรีบุญนาค พร้อมรับฟังการบรรยายประวัติความเป็นมาของการทำเกษตร เนื่องจากขาดทุนจากการทำนาอย่างต่อเนื่อง และในระหว่างนั้นได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างเข้าใจ จึงเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกของตนเองเพื่อเป็นทางรอดด้วยการใช้พื้นที่ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การพึ่งตนเองได้ และต่อยอดการเกษตร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจากการขายผลผลิตของคนในชุมชน อีกด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy