28 มีนาคม 2568 “น้ำมันพืชกุ๊ก” เปิดโครงการยกระดับด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมาย “สิ้นสุดการเป็นของเสีย” ตั้งเป้าสร้างโรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า Organic Waste 3 แห่งตลอดปี 2568

บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืช จำกัด ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เปิดโรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า ORGANIC WASTE เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และกำจัดขยะอินทรีย์ให้กับโรงเรียน และชุมชน ณ โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568

             นายอดุลย์ เปรมประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด ผู้ผลิต “น้ำมันพืชกุ๊ก” หนึ่งในธุรกิจหลักของ “กลุ่มพูลผล” เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะโครงการ CSR ด้านชุมชนที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และจะเดินหน้าสานต่อในปีนี้ หนึ่งในนั้นคือ โครงการยกระดับด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) โรงเรียนนวัตกรรมสร้างคุณค่า Organic Waste ด้วยหนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) หรือ BSF ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท ธนากรฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน โดยมีแผนก่อสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงหนอน BSF หรือ โรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า ORGANIC..WASTE..ให้กับชุมชน และโรงเรียนในเขตพื้นที่ ตำบลปากคลอง บางปลากด และ ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งตลอดปี 2568 บริษัทฯ มีแผนสร้างโรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า ORGANIC WASTE รวม 3 แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ 2.โรงเรียนวัดแค และ 3. โรงเรียนคลองนาเกลือน้อย

การเปิดโรงเรือนในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดจากเปิดโรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า ORGANIC WASTE ที่เกาะสีชัง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และต่อยอดการสร้างอาชีพของชุมชน เมื่อปี 2566 โดยยึดกลยุทธ์ Sustainable Business Strategy ตามหลัก 4G ได้แก่ Green Corporate, Great Culture, Good Governance และ Global Sustainability โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญภายใต้ Green Corporate คือ การสร้างแรงบันดาลใจและปรับเปลี่ยนแนวคิดตลอดซัพพลายเชน มุ่งเน้นการคัดแยกขยะต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ และการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปให้มากที่สุด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและมุ่งสู่ความยั่งยืนร่วมกัน

“จากการนำร่องโครงการที่เกาะสีชัง พบว่ามีชุมชนและสถานศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจและนำแนวทางจากการศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เกาะสีชัง ไปขยายผล รวมถึงเรียนรู้จากกระบวนการจัดตั้งโรงเรือนที่โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ที่เปิดตัวในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของโครงการที่ช่วยส่งเสริมแนวคิดการจัดการขยะอินทรีย์ และสร้างความยั่งยืนในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง” นายอดุลย์ กล่าว

สำหรับโครงการศูนย์เรียนรู้เกาะสีชัง บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ วิสาหกิจเพื่อสังคม “เบตเทอร์ฟลาย” (Betterfly) ซึ่งมีวิสัยทัศน์เดียวกันด้านการจัดการขยะอินทรีย์ จึงได้พัฒนาโรงเรือนนวัตกรรมสร้างคุณค่า ORGANIC..WASTE..บนเกาะสีชัง เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และต้นแบบการสร้างอาชีพให้ชุมชน โดยนำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์สูงสุด สร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของพื้นที่ พร้อมได้ขยายผลโครงการโดยสื่อสารและสร้างความร่วมมือกับ สถานศึกษา โรงพยาบาล วัด ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ที่ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้บนเกาะสีชังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ โครงการเปิดกว้างสำหรับการนำแนวทาง การจัดการขยะอินทรีย์และสร้างมูลค่าเพิ่ม ไปปรับใช้ในพื้นที่อื่น ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชุมชน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและขยายผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบต่อไป

ที่มา : Brandbuffet.in.th (https://www.brandbuffet.in.th/2025/03/cook-x-organic-waste/)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy