28 มีนาคม 2566 “แผนลดคาร์บอนในความพยายามที่จะปกป้องช้างเอเชีย”

ฝูงช้างเอเชียเดินผ่านเส้นทางที่มนุษย์สร้างขึ้นใกล้ป่าในประเทศจีน

ที่มา : https://www.ifaw.org/international/journal/carbon-reduction-priority-protection-asian-elephants

IFAW ได้พยายามรักษาหนึ่งในประชากรช้างเอเชียกลุ่มสุดท้าย โดยมุ่งหวังที่จะแสดงให้เห็นว่า ความสมดุลระหว่างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ สามารถรักษาสายพันธุ์ช้างเอเชียได้

ช้างป่าเอเชียอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ถูกแบ่งแยกและถูกคุกคามใน 13 ประเทศ ซึ่งการขยายตัวของเมือง ชนบท และการเกษตร ทำให้ช้างเอเชียสูญเสียที่อยู่อาศัย โดยในปัจจุบันผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์นั้น ทำให้สูญเสียประชากรช้างไปถึง 50,000 ตัว  ผลลัพธ์จากความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่า ส่งผลให้ช้างเอเชียเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ในบัญชีแดงของ IUCN และช้างชนิดนี้ยังถูกกำหนดให้เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทที่ 1 ในกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าของจีนตั้งแต่ปี 2531

เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการปกป้องช้างเอเชียของ IFAW จะช่วยเร่งการขับเคลื่อนของจีนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน IFAW และชาวท้องถิ่นได้พัฒนารูปแบบนวัตกรรมชุมชนการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งรวมการอนุรักษ์ช้างเอเชียเข้ากับการกักเก็บคาร์บอน โดยการดักจับคาร์บอนในต้นไม้และดิน ซึ่งเป็นการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศในระยะยาว  

หนึ่งในแผนของโครงการ คือ การพัฒนาแผนการเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ในขณะที่ปกป้องที่อยู่อาศัยของช้าง โดยจะคำนวณและรับรองการลดการปล่อยคาร์บอนแบบพิเศษ เพื่อวัดการกักเก็บคาร์บอนในระดับหมู่บ้าน โดย อิงจากการนำแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้และการเปลี่ยนไปใช้พืชทางเลือกที่ดักจับคาร์บอนได้มาก เช่น มะม่วงและแมคคาเดเมีย ซึ่งสามารถปลูกได้ใกล้กับหมู่บ้าน ส่งผลให้ชาวบ้านหลีกเลี่ยงการเข้าไปในป่าเพื่อตัดไม้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy