27 มิถุนายน 2566 ปลาตายนับพันเกยหาดไทย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา: https://edition.cnn.com/2023/06/23/asia/fish-die-off-thailand-climate-change-intl/index.html
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปลาตายหลายพันตัวที่เกยหาดยาวประมาณ 4 กิโลเมตรในจังหวัดชุมพรทางตอนใต้ของไทย เกิดจากแพลงก์ตอนบลูมซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะแพลงก์ตอนบลูม เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ลดระดับออกซิเจนในน้ำและทำให้ปลาขาดอากาศหายใจ
โดยเขากล่าวต่อว่า “ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เช่น ปะการังฟอกขาว แพลงก์ตอนบลูม เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาเป็นเวลานับพันนับหมื่นปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนทำให้มันทวีความรุนแรงและเพิ่มความถี่ของปรากฏการณ์ที่มีอยู่”
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลโลกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตามรายงานของ British Met Office ซึ่งระบุว่า สาเหตุมาจากปรากฏการณ์สภาพอากาศตามธรรมชาติ El Niño ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนทั่วโลก เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้นของมหาสมุทรและผืนดิน