24 ตุลาคม 2565 ทางออก ของความท้าทายด้านพลังงาน

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/544419
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในเวทีการประชุม COP 26 พร้อมตอกย้ำเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065)
หลังจากการประชุมดังกล่าว ตลาดพลังงานโลกต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ สถานการณ์ที่ผันผวนครั้งนี้ได้กระตุ้นความจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) มีส่วนสำคัญเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในกลางศตวรรษนี้ การค้นคว้าวิจัย พัฒนา และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลและพันธมิตรภาคเอกชนในอุตสาหกรรมพลังงาน
ซึ่งในการประชุม APEC ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้นำของแต่ละประเทศในภูมิภาค ทั้งรัฐบาลและอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมมือกัน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการสานต่อเป้าหมายดังกล่าวได้ ผ่านการกำหนดนโยบายขับเคลื่อน เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy – BCG) ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปกับการจัดหาพลังงานที่เข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) พลังงานไฮโดรเจน พลังงานหมุนเวียน ไปจนถึงระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (SMART power grids)