24 กรกฎาคม 2564 “นกแก้วโม่ง- มหิงสา” ฝูงสุดท้าย วิกฤตสัตว์ป่าไทยใกล้สูญพันธุ์

ที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9640000072339
มีการแชร์เรื่องราวของ “นกแก้วโม่ง” ฝูงสุดท้ายอาศัยที่ยอดยางอายุกว่า 200 ปี ริมคลองบางกรวย ในวัดสวนใหญ่ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โดยเฟซบุ๊กนกแก้วโมง ฝูงสุดท้าย #วัดสวนใหญ่ เปิดเผยข้อมูลว่านกแก้วโม่งฝูงนี้จะออกหากินในช่วงเช้า และกลับมาเข้ารังในช่วงเย็น แสวงความกังวลเนื่องจากตอนนี้สวนผลไม้อำเภอบางกรวยเหลือน้อย และนกแก้วโม่งเหล่านี้จะบินออกไปหาผลไม้ตามสวนของชาวบ้านกินทุกวัน เมื่ออาหารเหลือน้อย นกจำเป็นต้องเข้าใกล้คนมากขึ้น จึงเกรงว่าบางคนจะคิดว่าเป็นนกหลุดและจับเอาไปเลี้ยง หรือทำร้ายพวกมัน สำหรับ นกแก้วโม่ง ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ 2562 หากใครจับหรือทำร้ายมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือหากมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
เวลาไล่เรี่ยกัน เพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แชร์เรื่องราวของ “ควายป่า” หรือ “มหิงสา” ฝูงสุดท้ายในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี กับการเฝ้าระวังโรคระบาดลัมปีสกินอย่างเข้มข้นใน
นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ระบุว่าตั้งแต่ทราบว่าเริ่มมีการระบาดของโรคลัมปีสกินเฝ้าระวังอย่าวเข้มข้น ควายป่าในผืนป่าไทย มีรายงานพบเพียงแห่งเดียว คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แถบๆ ริมลำห้วยขาแข้งทางตอนใต้ของผืนป่า เหลืออยู่ราวๆ 50 ตัว จำนวนประชากรขยุ้มมือนี้จึงเปราะบางเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของควายป่าไปผสมพันธุ์กับควายบ้าน บางครั้งอาจติดโรคมาจากควายบ้าน ทำให้เกิดโรคระบาด ล้มตายไปตามๆ กัน หมดป่าริมน้ำ อาจหมายถึง ควายป่าสูญพันธุ์ สำหรับสถานะของควายป่าเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์ (EN)
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยแพร่บทความเรื่อง “เราเหลือเวลาอีกเพียง 20 ปี สำหรับแก้ไขวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6” ระบุว่าสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติบ่งชี้ปัจจัยวิกฤตการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เป็นผลกระทบจากการเติบโตของจำนวนประชากร การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย การค้าสัตว์ป่า มลภาวะต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนผสมที่กำลังคุกคามสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตหลายร้อยชนิดให้ยืนอยู่ขอบเหวของการสูญพันธุ์ในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน